Categories
News & Activities

เก็บเงินยังไง? กับ 5 กลยุทธ์ออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

เก็บเงินยังไง 5 กลยุทธ์ออมเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

1 ตั้งเป้าหมายท้าทายตัวเอง

การตั้งเป้าหมายเป็นอีกหนึ่งสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้คุณตื่นตัวอยู่เสมอ โดยคุณอาจจะตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง เช่น อายุเท่าไหร่อยากมีเงินเก็บเท่าไหร่ หรือเดือนนี้จะต้องเก็บเงินให้ได้เท่าไหร่ เริ่มต้นจากน้อยๆก่อนก็ได้ แล้วค่อยท้าทายตัวเองไปจนกว่าจะถึงระดับที่พึงพอใจ

2 เก็บเงินไม่อยู่บัญชีฝากประจำช่วยได้

หลายๆคนมีเงินอยู่ในมือเยอะๆแล้วก็อดใจที่จะเอามาจับจ่ายใช้สอยไม่ได้เลย ดังนั้นบัญชีฝากประจำเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยคุณได้ ซึ่งบัญชีประเภทนี้มีให้เลือกทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่มาพร้อมเงื่อนไขที่เมื่อต้องการถอนก่อนกำหนดเวลาจะไม่ให้ดอกเบี้ยกับคุณ หรือ ไม่ให้คุณถอนไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม เป็นต้น

3 เลือกล่วงหน้า ออมก่อนซื้อ

“ของมันต้องมี” มักเจอคำนี้เมื่อมีสินค้ารุ่นใหม่ๆเจ๋งๆ แล้วจะซื้อยังไงไม่ให้รู้สึกผิดกับเงินออมที่มีอยู่ คือการออมเพิ่มนั่นเอง เพราะในปัจจุบันการออกขายสินค้ามักจะมีการโฆษณาล่วงหน้า หากคิดว่าอยากได้จริงๆ ก็วางแผนเก็บออมได้เลย ยิ่งเก็บไวแค่ไหนเงินที่ต้องเก็บในแต่ละงวดก็จะยิ่งลดลง

4 กำหนดเพดานรายจ่ายในชีวิตประจำวัน

เป็นวิธีง่ายๆแต่ใช้ได้จริง เพียงคำนวณค่าใช้จ่าย รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์ ออกมา เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่ากาแฟ แล้วแบ่งเงินส่วนนี้ออกมาเป็นออกก้อนหนึ่ง อาจจะเผื่อไว้ให้ใช้ได้อย่างสบายๆเลยก็ได้ แต่! อย่าใช้เกินที่กำหนดไว้ถ้าไม่จำเป็น ส่วนที่เหลือเก็บเข้าเงินออมไปได้เลย

5 ส่วนลดที่มากกว่าส่วนลด

อีกหนึ่งทริคที่ดีมากๆ และคิดว่านะจะเหมาะกับข้อ 3 มากๆ นั่นก็คือ การออมเงินจากส่วนต่างของส่วนลดนั่นเอง ปัจจุบันสินค้าที่ซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆมักจะมากับส่วนลดนั้นมีเยอะมาก ทำให้เราประหยัดไปได้เยอะเลยทีเดียว และการเก็บเงินส่วนนั้นเข้าเงินออมก็เป็นวิธีที่อยากจะแนะนำให้ลองทำกันดู

 

สุดท้ายแล้วนะครับ ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน กลยุทธ์ใดก็ตามไม่มีวิธีไหนดีพอเท่ากับความพยายามของผู้อ่านได้เลยครับ บทความนี้เป็นเพียงตัวช่วยที่จะทำให้การเก็บเงินของผู้อ่านนั้นทำได้ง่ายขึ้นและเห็นผลได้ไวขึ้นเท่านั้นเองครับ ทางเราหวังว่าผู้อ่านจะทำเป้าหมายได้สำเร็จนะครับ

Categories
News & Activities

หุ้น และกองทุนแตกต่างกันอย่างไร?

หุ้น คือ หลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในบริษัทนั้น ๆ โดยราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงได้จากหลายปัจจัย ตัวอย่างเช่น ผลประกอบการของบริษัท สภาวะเศรษฐกิจความคาดหวังของนักลงทุน เป็นต้น หรือหากพูดแบบให้เข้าใจได้ง่าย ๆ สมมติว่าถ้าเราอยากเป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ ๆ สักธุรกิจ เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำธุรกิจเหล่านั้นเอง เพราะการเปิดกิจการเองไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีเงินทุนในการตั้งกิจการ ต้องซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ต้องจ้างพนักงาน ต้องทำการตลาด และอื่น ๆ อีกมากมายหลายอย่าง เราสามารถนำเงินไปลงทุนในหุ้นธุรกิจต่าง ๆ ที่เราใฝ่ฝันได้ผ่านตลาดหุ้น โดยเงินลงทุนตั้งต้นที่ใช้ก็น้อยกว่า แถมไม่ต้องบริหารกิจการเอง ให้ผู้บริหารของกิจการเหล่านั้นซึ่งมีความรู้ความสามารถในธุรกิจนั้น ๆ อยู่แล้วเป็นคนบริหาร ส่วนนักลงทุนอย่างเราก็รอรับเงินปันผลเมื่อกิจการมีผลการดำเนินงานที่ดีหรือมีกำไรนั่นเอง ไม่ใช่เพียงเฉพาะมือใหม่ นักลงทุนทุกคนควรทำความเข้าใจก่อนการลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง

กองทุนรวม คือ การระดมเงินจากเหล่านักลงทุนหลาย ๆ คน นำไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อจัดตั้งกองทุนเหล่านั้นขึ้นมา โดยมี “ผู้จัดการกองทุน” เป็นคนที่คอยบริหารการลงทุนให้นั่นเอง ข้อดีหลัก ๆ ของกองทุนรวม คือ มีหลากหลายนโยบายการลงทุนให้เลือก ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยงได้ อีกทั้งใช้เงินลงทุนไม่มาก แค่เพียง 500 บาท ก็เริ่มต้นลงทุนได้แล้วสำหรับบางกองทุน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุนรวม

ในทั้งกองทุนรวม และ หุ้น นั้นมีความเสียงในการลงทุนกันทั้งคู่ หากเป็นการลงทุนหุ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดหุ้นในช่วงนั้นๆ และในส่วนความเสี่ยงของการลงทุนใน “กองทุนรวม” จะขึ้นอยู่กับ

1. ความเสี่ยงจากภาวะตลาด (Market Risk) ตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ, การเมือง หรือสังคม ที่อาจส่งผลต่อภาคธุรกิจ จนทำให้ภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงไปจนมีผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่กองทุนได้ลงทุนไว้

2. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) ความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (หุ้น) เนื่องมาจากผลการดำเนินงานหรือฐานะการเงินรวมทั้งความสามารถในการทำกำไรและนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทผู้ออกหุ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อราคาซื้อ/ขายหุ้น

หุ้น

  • เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง
  • เหมาะกับคนมีเวลาศึกษาเรื่องของการลงทุน

 

กองทุนรวม

  • เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ทุกระดับ เนื่องจากมีหลากหลายสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • เหมาะกับคนไม่ค่อยมีเวลา มืออาชีพคอยบริหารจัดการลงทุนให้

ท้ายที่สุดนี้ ทุกการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเลือกการลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับตัวท่านเองความเสี่ยงก็อาจจะมีมากขึ้นกว่าเดิมจนก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราหวังว่าทุกท่าจะเลือกที่จะลงทุนในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง

Categories
News & Activities

ลุ้นแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยช่วยเหลือประชาชน

จับตาประชุมกนง.(ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน) 10 เมษายน หลังจากที่มีการกดดันมาจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มาอย่างต่อเนื่อง จากที่ผ่านมามีการปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องป้องกันปัญหาเงินเฟ้อ และปรับขึ้นตามกระแสเศรษฐกิจโลก หลังธนาคารกลางของสหรัฐ หรือ  เฟด ปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายมาต่อเนื่อง แม้ว่าในการประชุมครั้งผ่านมามีมติคงดอกเบี้ยเอาไว้แต่ในการประชุมได้มี กนง. 2 ท่านได้มีการออกเสียงให้ลดอัตตราดอกเบี้ยลง ทำให้อาจจะเกิดการลดอัตราดอกเบี่ยหลังการประชุม กนง. ในวันที่ 10 เมษายน ที่จะถึงนี้

 

อัตราดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร

อัตราดอกเบี้ยนโยบายกำหนดโดยธนาคารกลาง เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป

 

หากมีการการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นจะช่วยอะไรได้บ้าง?

การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 

 

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย” เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 

การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ

การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

 

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ “นโยบายการเงินแบบเข้มงวด” ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

 

 

 

ถึงแม้วันที่ 10 เมษายนนี้ จะมีการลดดอกเบี้ยนโยบายลง ก็ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการใช้นโยบายการคลังหรือไม่ ทั้งยังการเงินให้สมดุลเพื่อประคองเศรษฐกิจประเทศไม่ให้พังลง ประเทศจะได้เดินหน้าต่อไปได้ นอกจากนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเองก็มีแนวโน้มที่จะกลับขึ้นมาสูงอีกด้วย การลดดอกเบี้ยทำให้มีคนกู้มากขึ้นไปอีก เป็นอีกหนึ่งในเรื่องที่ต้องระวังเพราะเรื่องนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากอีกด้วย

 

 

Categories
News & Activities

การรีไฟแนนซ์ (Refinance) คืออะไร?

การรีไฟแนนซ์ (Refinance) เป็นการจัดการกับสัญญากู้ยืมเงินที่มีอยู่ใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาเดิม เป็นการยื่นขอสินเชื่อใหม่เพื่อใช้เงินใหม่เพื่อชำระสินเชื่อเดิม โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยหรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเงินปัจจุบัน หรือเพื่อให้ได้ประโยชน์จากเงื่อนไขการกู้ยืมที่ดีกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนจากดอกเบี้ยแบบเปลี่ยนแปลงได้ (Adjustable-rate mortgage) เป็นดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed-rate mortgage) หรือเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระเงิน เป็นต้น การรีไฟแนนซ์มักจะมีการใช้ทรัพย์สินที่มีค่าเป็นประกัน เช่น บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ และจะทำได้เมื่อมีการผ่อนชำระมาแล้วมากกว่า 3 ปี หรือตามธนาคารกำหนด

ประโยชน์ของการรรีไฟแนนซ์
1. ลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย : ส่วนมากแล้วเรื่องการลดดอกเบี้ยเป็นเห็ตผลหลักๆในการขอรีไฟแนนซ์เมื่อธนาคารใหม่ให้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า
เช่น ธนาคารเดิมคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 6 แต่สัญญาใหม่อยู่ที่ ร้อยละ 3.5 ส่งผลให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าลดลงไปอย่างมากเลยครับผ
2. หักเงินต้นได้มากขึ้น : นอกจากดอกเบี้ยจะลดลงแล้วหากเมื่อผ่อนชำระได้ในยอดเดิมก็จะหักเงินต้นได้มากขึ้นอีกด้วย
3. เพิ่มหรือลดระยะเวลาการผ่อนชำระ : สามารถปรับแผนการจ่ายได้ตามสภาพคล่องของท่านได้

 

ยกตัวอย่างการรีไฟแนนซ์ กับการไม่รีไฟแนนซ์ ให้เห็นจำนวนเงินที่แตกต่างกัน

รายการ ไม่รีไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์
ยอดหนี้คงเหลือ (บาท) 2,500,000 2,500,000
อัตราดอกเบี้ย (เดือน) 5% 4%
ระยะเวลาผ่อนชำระ (ปี) 20 20
เงินผ่อนชำระต่อเดือน (บาท) 19,177 17,416
รวมค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (บาท) 1,821,724 735,893
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น (บาท) 5,321,724 4,235,932

 

ตารางอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี 2567 ประจำเดือน มีนาคม

ดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด
1.ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
3.34% วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน (สำหรับลูกค้าที่ทำประกัน MRTA/MLTA และไม่ฟรีค่าจดจำนอง)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 8.800% (ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566)

2.ธนาคารไทยพาณิชย์
3.42% ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเคหะเท่ายอดหนี้เดิม

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.300% (ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2566)

3.ธนาคารกสิกรไทย
3.45%
ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (วงเงินกู้ ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป กรณีทำประกันตามเงื่อนไข)
 
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.3000% (ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2566)
4.ธนาคารทหารไทยธนชาต
3.50% วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 50,000,000 บาท (สำหรับลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี TTB และทำประกันตามเงื่อนไข)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.830% (ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2566​)

5.ธนาคารกรุงเทพ
3.50% วงเงินกู้สูงสุดเท่ากับ 100% ของภาระหนี้คงเหลือ (วงเงินอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป กรณีหลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยในกลุ่มโครงการที่มีข้อตกลงกับธนาคาร และทำประกันตามเงื่อนไข)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.300% (ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2566)

6.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
 
3.58%

วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2,500,000 บาทต่อรายต่อหลักประกัน (กรณีทำประกันตามเงื่อนไข)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.900% (ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566)

 
7.ธนาคารกรุงไทย
3.60% วงเงินกู้สูงสุด 100% (กรณีที่ทำประกัน)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.570% (ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2566​)

8.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
3.85% วงเงินกู้สูงสุด 95% ของราคาประเมิน (สำหรับหลักประกันประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ห้องชุดพักอาศัย ตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.400% (ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2566)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ การรีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือขอลดดอกเบี้ยบ้านนั้น สามารถช่วยประหยัดดอกเบี้ยให้ผู้ขอสินเชื่อได้อย่างมากก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าการรีไฟแนนซ์จะสามารถลดดอกเบี้ยได้เสมอไป ดังนั้นก่อนจะรีไฟแนนซ์ แนะนำให้ผู้ขอสินเชื่อศึกษารายละเอียดของสินเชื่ออย่างละเอียดรอบคอบ โดยประเด็นหลักที่จะต้องพิจารณา คือ อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อของสินเชื่อรีไฟแนนซ์จะต้องต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลอดสินเชื่อปัจจุบัน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ (Refinance) เช่น ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง ค่าอากร ค่าประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ รวมไปถึง ค่าประกันอัคคีภัยหรือประกันสินเชื่อ (MRTA) ซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างกันตามแต่ละธนาคาร ที่สำคัญอย่าลืมต้องตรวจสอบเงื่อนไขการไถ่ถอนสินเชื่อจากธนาคารเดิมด้วยว่ากำหนดให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถรีไฟแนนซ์ได้ตั้งแต่ปีที่เท่าไรของการกู้ เพราะมิฉะนั้นแล้วผู้กู้จะต้องถูกปรับจากธนาคารเดิม หากผู้ขอสินเชื่อไถ่ถอนหนี้ก่อนกำหนด

Categories
News & Activities

ไฮไลฟ์ กรุ๊ป (HYLIFE GROUP) จัดงานวันเด็กให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ (ม้ง) ภายใต้โครงการ “BETTER CARING IS HYLIFE’S SHARING”

เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มบริษัท ไฮไลฟ์ กรุ๊ป (HYLIFE GROUP) เชียงใหม่ นำโดย คุณดานูช รามาซานแดรน แนร์, คุณพอลล่า แนร์, คุณวัชราภรณ์ ลิน และ คุณแมทธิว ลิน คณะกรรมการกลุ่มบริษัทฯ พร้อมคณะตัวแทนผู้บริหารและพนักงานในเครือบริษัทฯ ได้เข้าสนับสนุนการจัดกิจกรรมวันเด็กให้กับเด็กๆกว่า 500 คน ในโครงการ “BETTER CARING IS HYLIFE’S SHARING” ซึ่งคุณชูโบดีบ ดัส ประธาน/ผู้ก่อตั้ง (Group CEO) ได้สนับสนุนเงินทุน 50,000 บาท เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับเด็กๆ กลุ่มชาติพันธุ์ (ม้ง) และยังมีกิจกรรมนันทนาการจากตัวแทนทีมงานบริษัทต่างๆ ในเครือที่สร้างความบันเทิงให้กับเด็กในงาน พร้อมรับของรางวัลมากมายอย่างเช่น อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์การเรียน ขนม และรางวัลอีกมากมาย

ทุกท่านสามารถอ่านข่าวเต็มๆได้ที่

✨ Group Company Website:

https://www.hylifegroup.com/en/hylife-groups-childrens-day-for-the-ethnic-group-hmong-at-the-82nd-anniversary-chaloem-phrakiat-park-chiang-mai/

✨ CM 108:

https://www.cm108.com/w/93405/

✨ Prachachat:

https://www.prachachat.net/public-relations/news-1487244

✨ Facebook page Citynewsthai.com:

https://shorturl.at/ekZ19

Categories
News & Activities

‘ไทย’ ติด TOP10 อันดับประเทศ ‘หนี้ครัวเรือนต่อ GDP’ สูงสุดในโลก น่ากลัวกว่าที่คิด

ความจริงแล้วคนไทยกว่า 1 ใน 3 มี “หนี้” และในจำนวนนั้นเองก็มีบุคคลที่มีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไปถึง 32%

คนไทยที่มีหนี้เกิน 1 ล้านบาทมีจำนวนถึง 14%
คนไทยที่มีหนี้เกิน 1 แสนบาทมีจำนวนมากถึง 57%
และมูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าใน 10 ปีที่ผ่านมา

ทำให้ ‘สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP’ ของไทย สูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market economies) ด้วยกัน อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

ที่มา : CEIC, ธนาคารแห่งประเทศไทย, และธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ข้อมูลในช่วงปี 2563–2565 แล้วแต่ข้อมูลล่าสุดที่มีตามแต่ละประเทศ

จากรูปข้างต้น เราจะเห็นว่า ‘สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP’ ของไทย สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก เพราะสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูงพอๆ กับประเทศพัฒนาแล้ว (advanced economies) อย่างสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อดูเป็นสัดส่วนมูลค่าหนี้แล้ว หนี้บ้านจะคิดเป็น 35% ของมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ใกล้เคียงกับไทย จะเห็นได้ว่ามูลค่าหนี้ส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านั้นเป็นหนี้บ้าน

ที่มา : ​เครดิตบูโร คำนวณโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2565) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย หมายเหตุ : ข้อมูลเมื่อมีนาคม 2565

และเมื่อเข้ามาดูสัดส่วนบัญชีหนี้ของคนไทยแล้วสิ่งที่น่าเป็นห่วงจะพบว่ามากกว่า 2 ใน 3 เป็นสินเชื่อที่ไม่สร้างรายได้ให้ในอนาคต (ประกอบด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล 39% และบัตรเครดิต 29%) ซึ่งมักเป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต และยังมีระยะผ่อนสั้นแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่งทำให้มีภาระผ่อนต่อเดือนที่สูงตามมา ทำให้กลายเป็นว่า รายได้ที่ได้มาต้องนำมาชำระหนี้จนถึงขั้นเงินไม่พอใช้แล้วต้องกลับไปใช้บัตรเครดิตอย่างต่อเนื่อง หรือจะเป็นในส่วนของบุคคลที่

ทำให้ ธปท. มองว่า สถานการณ์นี้ของคนไทย ‘ค่อนข้างน่ากังวล’ เพราะหนี้ส่วนใหญ่ไม่สร้างรายได้ รวมถึง 20% ของคนไทยที่เป็นหนี้มี ‘หนี้เสีย’ ส่วนใหญ่ ‘วัยเริ่มทำงาน’ (20-35 ปี) มีสัดส่วนหนี้ที่อาจไม่สร้างรายได้สูงที่สุด และมีสัดส่วนของผู้กู้ที่มีหนี้เสียสูงที่สุด คือ 25%

อีกกลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูงที่สุด และสุ่มเสี่ยงที่จะชำระหนี้ไม่ได้ หรือชำระได้เพียงดอกเบี้ยหรือบางส่วน จึงทำให้ ‘ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย’ ยังเป็นที่พูดถึงอย่างต่อเนื่อง เพราะจะส่งผลกระทบฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

แล้วมีผลกระทบอย่างไร? เรื่องของภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงอาจฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะรายได้ส่วนใหญ่ต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้แทนการเอาไปใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการหรือลงทุน ปัญหาอีกรูปแบบ ยังมีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน กล่าวคือ หากลูกหนี้จำนวนมากชำระหนี้ไม่ได้พร้อม ๆ กัน ก็อาจกระทบฐานะการเงินของเจ้าหนี้ ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียในวงกว้างจนกลายเป็นวิกฤตได้ ดังนั้น ปัญหาทั้งสองประการอาจลุกลามไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ ปัญหาสังคมที่คนถูกกดดันจากภาระหนี้ อาจเริ่มก่ออาชญากรรม จนทำให้ชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ ปัญหาหนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสูงขึ้น สวนทางกับรายได้ของครัวเรือนที่ลดลงตามจำนวนคนทำงานหารายได้

คงเห็นแล้วนะครับว่าเหตุใดจึงต้องกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย

Categories
News & Activities

ปัญหาเรื่องเงินทองกับสุขภาพจิต

ทุกคนรู้หรือไม่ครับว่าสุขภาพจิตเองก็ส่งผลต่อการเงินเป็นอย่างมากได้เช่นกันถึงแม้ปัญหาของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป บางปัญหาถึงขั้นเกิดผลกระทบร้ายแรงกับการเงินของคุณเองได้เลยเช่นกัน

ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่าง 3 สถานการณ์ ที่ต้องระวังและวิธีรับมือเพื่อป้องกันเงินในกระเป๋าของคุณ

  1. การเสพติดการใช้เงินเกินตัว:

อาการเสพติดการใช้เงินเกินตัว การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเป็นครั้งคราวอาจเป็นเรื่องสนุก และบางครั้งเราก็รู้สึกดีเมื่อได้ซื้อของที่จำเป็น ถึงแม้จะพูดว่าเป็นความสุขแต่ถึงอย่างนั้นก็ควรจะต้องสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายทางการเงินกับความต้องการใช้เงินให้ดี

ในทางการศึกษาพบว่าการบำบัดจิตใจที่ตึงเครียดด้วยการซื้อของทุกสิ่งที่ต้องการอาจจะนำไปสู่หายนะบางอย่าง  เพราะโดยทั่วไปมักพบว่าจะเกิดความตึงเครียดก่อนซื้อและเกิดความรู้สึกผ่อนคลายในระยะสั้นหลังจากซื้อสินค้าไปแล้ว

ซึ่งหากพบว่าตัวเองหันไปซื้อของเพื่อรับมือกับความทุกข์ทางอารมณ์มากขึ้น ให้ลองใช้วิธีเหล่านี้

สำหรับการช้อปปิ้งออนไลน์ ให้เก็บสินค้าไว้ในรถเข็นอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเพลิดเพลินไปกับความสุขของการรอคอยและกลับมาอีกครั้งเพื่อดูว่ายังต้องการสิ่งเหล่านั้นอยู่หรือไม่  ทำให้การใช้จ่ายเงินยากขึ้น  ธนาคารบางแห่งอนุญาตให้สามารถล็อคบัตรเดบิตและบัตรเครดิต ซึ่งจะเพิ่มขั้นตอนในการช้อปปิ้งให้ยากขึ้นอีกขั้น ตั้งกฎสำหรับการซื้อสินค้า  หรือตั้งงบในการซื้อของที่ไม่สูงมากจนเกินไปและควรดูยอดเงินคงเหลือในธนาคารให้เป็นนิสัย

 

2. ความวิตกกังวลทำให้ประหยัดเงินมากเกินไป:

ความวิตกกังวลมากเกินไปในบางครั้งส่งผลถึงทัศนคติในการใช้เงิน  เช่นในช่วงที่มีเงินมากอาจกังวลที่จะสูญเสียมันไป  แต่ไม่ใช่แค่เพียงคนที่มีเงินมากเท่านั้นที่จะกังวลเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่คนทั่วไปก็คิดกัน

หากรู้สึกว่าตัวเองยึดติดกับชีวิตแบบปะหยัดมากเกินไปจนไม่มีความสุข ลองพยายามจัดการความกังวลพวกนี้ด้วยวิธีดังนี้

มีบัญชีออมทรัพย์เพื่อตัวเองที่แยกออกจากบัญชีอื่น ๆ หากรู้สึกว่าเริ่มมีปัญหาในการใช้เงินกับตัวเองให้เปิดบัญชีใหม่  วิธีนี้สามารถช่วยแบ่งเงินออมเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ เมื่อต้องรับมือกับความวิตกกังวลเรื่องเงิน บางครั้งถ้าไม่มากเกินไปก็ช่วยป้องกันการใช้จ่ายเกินตัวได้และต้องรู้จักผ่อนคลายเมื่อเริ่มมีรายได้เพียงพอ

 

3. ภาวะซึมเศร้าทำให้เงินออมหลังเกษียณน้อยลง:

ความทุกข์ทางจิตใจ ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ส่งผลต่อการออมเพื่อการเกษียณอายุ  ผลการศึกษาพบว่าความทุกข์ทางจิตอาจทำให้บุคคลมีโอกาสถือบัญชีเกษียณน้อยลง  หากเริ่มมีปัญหาในการหาแรงจูงใจในการออมในระยะยาวลองวิธีนี้

ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง อาจเป็นสิ่งที่พูดง่ายกว่าทำ และอาจเป็นเรื่องยากที่จะลดความคาดหวังสำหรับตัวคุณเองหรือเป้าหมายของคุณในแต่ละวัน  แบ่งเป้าหมายออกเป็นเป้าหมายเล็กๆ  หากมีเงินออมไม่มากนักและต้องการสร้างแผนการออม ขั้นตอนแรกอาจเป็นการตรวจสอบยอดเงินในบัญชีโดยไม่ปล่อยให้ความกลัวเข้ามาครอบงำ  รับความช่วยเหลือหากต้องการ นักบำบัดสามารถช่วยให้ฝ่าฟันความท้าทายต่าง ๆ และพัฒนากลยุทธ์เพื่อเผชิญหน้ากับรูปแบบความคิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพและปัญหาอื่นๆ

การเข้าใจและการจัดการกับสุขภาพจิตสำคัญอย่างมากเพื่อสุขภาพทั้งร่างกายและการเงินของเราเอง การติดตามและรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเรามีปัญหาทางสุขภาพจิตที่ส่งผลต่อการเงินของเรา โดยการจัดการสุขภาพจิตอย่างถูกต้องจะช่วยให้เรามีสมดุลที่ดีระหว่างการเงินและสุขภาพจิตใจอย่างเหมาะสม.

ช่องทางการจำหน่ายทรัพย์: Thai Asset Hub

Facebook page: Facebook

Categories
News & Activities

ทำความรู้จักกับ NFC เทคโนโลยีด้านการเงิน ที่จะส่งผลกับการใช้ชีวิต

เทคโนโลยี NFC (Near-field Communication) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระยะใกล้ที่สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ในระยะไม่เกิน 4 เซนติเมตร โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 424 กิโลบิตต่อวินาที และใช้พลังงานที่น้อยมาก เหมาะสำหรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้ ๆ กันได้โดยรวดเร็วและง่ายดาย นอกจากนี้ เทคโนโลยี NFC ถูกนำมาใช้งานในหลายด้านเพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วให้กับผู้ใช้งาน

  1. จ่ายเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment): NFC ช่วยในการจ่ายเงินโดยการใช้โทรศัพท์มือถือหรือบัตรเดบิตที่สามารถใช้ในการชำระเงินโดยการแตะกับเครื่องจ่ายเงิน ทำให้การทำธุรกรรมเงินสดกลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น.
  2. การเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Device Pairing): NFC ทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์กันเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยการแตะโทรศัพท์กับอุปกรณ์อื่น ๆ ทำให้การจับคู่และเชื่อมต่ออุปกรณ์กันมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น.
  3. การส่งข้อมูล: NFC สามารถใช้ส่งข้อมูลเช่น URL, ข้อมูลเว็บไซต์, หรือข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย.
  4. การรักษาความปลอดภัย: เทคโนโลยี NFC ถูกนำไปใช้เพื่อรักษาความปลอดภัย เช่นในการเข้า-ออกสถานที่ด้วยบัตรคีย์การ์ด (Secure Keycards).
  5. ข้อคำแนะนำในการใช้งาน: การใช้งาน NFC ควรระวังอย่างมากในการแตะอุปกรณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ และควรปิดการเชื่อมต่อ NFC เมื่อไม่ได้ใช้งานเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ชอบด้วย.

เทคโนโลยี NFC มีความสามารถที่สามารถมาช่วยในการทำให้ชีวิตของเรามีความสะดวกสบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และมีความปลอดภัยในการใช้งานในหลาย ๆ แง่ของการใช้ชีวิตประจำวันของเราเช่นการจ่ายเงิน, การเชื่อมต่ออุปกรณ์, การส่งข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย.

แล้วเทคโนโลยีนี้จะมีผลกับเราได้อย่างไร เข้าไปอ่านต่อได้ที่ >>> ธปอ.ศึกษาเทคโนโลยี NFC กระตุ้นการชำระเงินดิจิทัล 2.5 – PINNACLE (pinnacle-amc.co.th)

Categories
News & Activities

ธปอ.ศึกษาเทคโนโลยี NFC กระตุ้นการชำระเงินดิจิทัล 2.5

ธปอ.ศึกษาเทคโนโลยี NFC หวังกระตุ้นการชำระเงินดิจิทัล 2.5 เท่าตามเป้า

แบงก์ชาติเผยอยู่ระหว่างศึกษาการนำเทคโนโลยี NFC มาใช้กับระบบพร้อมเพย์ หวังช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรม หนุนปริมาณการโอนชำระเงินของคนไทยผ่านระบบดิจิทัลโตเพิ่มเป็น 800 ครั้งต่อคนต่อปีตามเป้า

ปัจจุบันคนไทยเราชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลอยู่ที่ 500 ครั้งต่อคนต่อปี เติบโตขึ้นมาจาก 300 กว่าครั้งต่อคนต่อปีในช่วงเริ่มแผน การจะไปให้ถึงเป้าหมายที่ 800 ครั้งต่อคนต่อปี การชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นอีก 300 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก

การนำเทคโนโลยี NFC เข้ามาใช้กับระบบพร้อมเพย์นั้นเป็นแผนการพัฒนาระบบดิจิทัล ของ ธปอ. ที่มีเป้าหมายจะขยายการชำระเงินดิจิทัลให้เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า หรือคิดเป็น 800 ครั้งต่อคนต่อปี นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะขยายร้านค้าที่รับชำระเงินผ่านระบบQR Code ที่มีอยู่แล้วมากกว่า 8.7 ล้านจุด ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใช้งานระบบ QR Code มากขึ้น พร้อม เพิ่มประสิทธิภาพให้รวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกมากขึ้น

คุณ ดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในระบบราว 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นต้นทุนการผลิต การกระจาย และทำลาย รวมประมาณ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ดังนั้นหากคนไทยหันมาทำใช้ธุรกรรมการเงินแบบดิจิทัลกันมากขึ้น ต้นทุนส่วนนี้ก็จะลดลง

“เราอยากเห็นดิจิทัลเป็นทางเลือกหลักในการทำธุรกรรมของคนไทย ไม่เฉพาะประชาชน แต่รวมถึงภาคธุรกิจและภาครัฐด้วย ซึ่งในส่วนของภาคธุรกิจปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบพร้อมบิซขึ้นมารองรับแล้ว อย่างไรก็ดี แนวทางของเราไม่ใช่คำว่า Cashless แต่เป็น Less Cash ไปเรื่อยๆ เพราะแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น ในสแกนดิเนเวียก็พบว่าเงินสดยังมีความจำเป็นต้องมีอยู่เช่นกัน” ดารณีกล่าว ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

เทคโนโลยี NFC คืออะไร?

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ระบุว่า NFC เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะสั้น (Short-Range Wireless Technology) ใช้คลื่นความถี่ 13.56 เมกะเฮิรตซ์ บนพื้นฐานมาตรฐาน ISO 14443 (Philips MIFARE and Sony’s FeliCa) ใช้ส่งข้อมูลได้ระยะประมาณ 4-10 เซนติเมตร มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุด 424 กิโลบิตต่อวินาที และมีความเร็วในการติดต่อเริ่มต้นต่ำกว่า 0.1 วินาที ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้เทคโนโลยี NFC ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้ๆ ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างมากและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ

หนึ่งในรูปแบบการใช้งานของ NFC คือ Card Emulation Mode ซึ่งเป็นโหมดที่จะทำให้อุปกรณ์ที่รองรับ NFC อย่างสมาร์ทโฟน ทำงานเสมือนเป็นบัตรที่ผู้ใช้งานแค่แตะกับอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณ โดยไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องโดยตรง (Contactless) ก็สามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้

ข้อควรระวังของ NFC

อย่างไรก็ดี การใช้งานเทคโนโลยี NFC ก็มีข้อควรระวัง เนื่องจากระบบการทำงานของ NFC ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่ได้มีการตรวจสอบหรือยืนยันตัวบุคคลที่ซับซ้อนมาก ผู้ใช้งานควรตระหนักอยู่เสมอว่าระบบที่ใช้งานอยู่อาจไม่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ดีพอ จึงควรใช้งานด้วยความระมัดระวัง ดังนี้

  1. ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณ NFC ว่ามีอุปกรณ์แปลกปลอมติดตั้งอยู่หรือไม่
  2. ไม่ควรนำสมาร์ทโฟนไปแตะเข้ากับอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณที่น่าสงสัย
  3. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ควรปิดการเชื่อมต่อ NFC เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูล
  4. ระมัดระวังในการเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในสมาร์ทโฟน
  5. ควรกำหนดรหัสผ่านสำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลไปใช้ในกรณีที่ทำสมาร์ทโฟนสูญหาย

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NFC >>> ทำความรู้จักกับ NFC เทคโนโลยีด้านการเงิน ที่จะส่งผลกับการใช้ชีวิต – PINNACLE (pinnacle-amc.co.th)

Categories
News & Activities

ทำความรู้จักกับ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นคำที่ไม่ค่อยได้ยินกันบ่อยนักใช่มั้ยครับ? วันนี้ผมจะมาอธิบายเรื่องภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้ทุกคนได้เข้าใจกันครับ

สำหรับบุคคลใดก็ตามที่มีที่ดินเป็นของตัวเองจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างโดยไม่แบ่งแยกระหว่างคนที่ทำธุรกิจกับบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นที่รกร้าง หรือมีการใช้งานอยู่ก็ตามครับ

 

สิ่งที่ควรจะต้องรู้เกี่ยวกับ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บรายปีซึ่งจะถูกคำนวนจากมูลค่าของที่ดินที่ผืนนั้นๆที่เราครอบครองอยู่ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น มีเงื่อนไขดังนี้

  1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)
  2. ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

สำหรับเจ้าของที่ดินทุกคนที่เข้าเงื่อนไขนั้นมีหน้าที่เสียภาษีกันทุคนนะครับ

 

แล้วเราต้องชำระที่ไหนและเมื่อไหร่หล่ะ?

เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ ซึ่งสถานที่ชำระก็จะจะแตกต่างกันไปตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

  • เทศบาล ให้เสียภาษีที่ สำนักงานเทศบาล
  • อบต.ให้เสียภาษีที่ องค์กรบริหารส่วนตำบล
  • กรุงเทพ ให้เสียภาษีที่ สำนักงานเขตกรุงเทพ
  • พัทยา ให้เสียภาษีที่ สำนักงานเมืองพัทยา

สำหรับภาษีที่ถูกประเมินโดยองค์กรณ์ปกครองท้องถิ่นจะถูกส่งมาให้เราในทุกๆปีก่อนเดือนกุมภาพันธ์ครับ โดยเรามีหน้าที่ต้องไปจ่ายภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีนั้นๆที่ถูกแจ้งภาษีนั่นเองครับ

 

ภาษีที่ดินคำนวณอย่างไร อัตตราเท่าไหร่?

การคำนวณ ภาษีที่ดิน
การคำนวณ ภาษีที่ดิน

 

โดยปกติแล้ว ราคาประเมิน จะเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างหรือคอนโดมิเนียม ที่เป็นอัตราเดียวกับกรมที่ดิน

มูลค่ายกเว้น จะเป็นมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีการยกเว้นสำหรับที่ดินเพื่อการเกษตร และที่อยู่อาศัย

 

ส่วนอัตราภาษีจะแตกต่างไปตามประเภทของที่ดิน ดังนี้

ประเภท ภาษีที่ดิน
ประเภท ภาษีที่ดิน

และนี่เป็นเรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับเจ้าของที่ดิน อย่าลืมตรวจสอบด้วยนะครับว่าที่ดินของคุณเป็นที่ดินประเภทไหน อัตราภาษีเท่าใด หรือว่าได้รับยกเว้นหรือเปล่า เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการเงินและจัดการภาษีในอนาคตนะครับ และเรายังมีความรู้ด้านการคำนวณค่าโอนที่ดินมาฝากให้เพื่อนๆได้อ่านอีกด้วยนะครับ  เข้าไปอ่านได้ที่นี่เลยครับ คำนวณค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง