Categories
News & Activities

ทำความรู้จักกับ MRR หรือ Minimum Retail Rate

สำหรับหลายๆคนที่กำลังจะซื้อบ้านหรือมีการเตรียมที่จะกู้เงินระยะยาว ผมเชื่อว่าคุณจะต้องได้ยินหรืออ่านเจอกับคำว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR กันอย่างแน่นอนใช่มั้ยหล่ะครับ แล้วไหนจะ MMR กับ MLR อีก ซึ่งตัวอักษรเหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรจะต้องศึกษาเพื่อเป็นผลประโยชน์กับตัวคุณเอง เพราะความรู้เหล่านี้มันจะช่วยให้คุณประหยัดมากขึ้นนั่นเองครับ

MRR

เอาหละเรามาเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับ MRR หรือ Minimum Retail Rate กันดีกว่าครับ

MRR หรือ Minimum Retail Rate  มันเป็นชื่อเรียกของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยนั่นเองครับ ซึ่งMRRจะถูกนำมาใช้กับเงินกู้ประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนยกตัวอย่างนะครับ สินเชื่อส่วนบุคคล,สินเชื่อบ้าน,สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้นครับ แล้วนอกจากอัตราดอกเบี้ย MRR แล้วยังมีอัตราดอกเบี้ย MLR และอัตราดอกเบี้ย MOR อีกด้วยครับ โดยสินเชื่อที่ทำนั้นเองจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปตามที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนด แต่ต้องสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นครับ

MRR MLR MOR แตกต่างกันตรงไหน

อัตราดอกเบี้ย MRR

เป็นดอกเบี้ยที่จะถูกนำมาใช้กับบุคคลทั่วไปที่เป็นรายย่อยครับ มักใช้กับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบ้านครับ ดอกเบี้ยประเภทนี้จะมีอัตราการอนุมัติง่ายกว่าอัตราดอกเบี้ยอื่นๆ บวกกับมีความไม่แน่นอนสูง จึงทำให้ดอกเบี้ยสูงกว่า MLR อีกทั้งยังมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายกว่าอีกด้วย

อัตราดอกเบี้ย MLR

เป็นดอกเบี้ยที่จะถูกนำมาใช้กับลูกค้ารายใหญ่ที่เข้ามากู้แล้วมีประวัติการชำระเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันมักใช้กับการกู้ที่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนครับ แต่มีกรณีที่ธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ย MLR กับลูกค้าทั่วไปด้วยนะครับ ซึ่งทางธนาคารจะเสนอให้ก็ต่อเมื่อเป็นการกู้สินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน

อัตราดอกเบี้ย MOR

ธนาคารส่วนใหญ่มักจะใช้กับกรณีสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งก็คือวงเงินเบิกเกินบัญชี ที่ทำผ่านบัญชีกระแสรายวัน และส่วนใหญ่ใช้เช็คในการเบิกถอน

การคำนวน MRR

จากการคำนวณด้านบนจะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่า ความแตกต่างของการคิดดอกเบี้ยจากปีแรกที่กู้และปีที่สองนั้นมีความแตกต่างของดอกเบี้ยมากถึงหลักหมื่นบาทเลยทีเดียว และยิ่งเวลาผ่านไปนานก็มีโอกาสที่ดอกเบี้ยบ้านจะเพิ่มขึ้นตามกลไกทางเศรษฐกิจอีกด้วยครับ

คำแนะนำเกี่ยวกับ MRR

แนะนำเพิ่มเติม

สำหรับใครที่ต้องการซื้อบ้าน หรือกำลังผ่อนบ้านในยุคนี้ควรติดตามสถานการณ์และคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นระยะๆ รวมถึงพิจารณาเรื่องของการรีไฟแนนซ์เพื่อให้ได้อัตราเงินกู้ใหม่ที่ดีกว่าเดิม จะช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาวได้อย่างมากมายเลยครับ ทางเราเองก็มีเรื่องของการรีไฟแนนซ์บ้านให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจอีกด้วยครับ เข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้เลยครับ

ข้อดี/ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์ท… – Pinnacle Asset Management Co., Ltd. | Facebook

 

ข้อควรรู้ของอัตราดอกเบี้ย
1. ตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์จะต้องติดประกาศอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสาขาย่อยและสาขาสำนักงานใหญ่ของแต่ละธนาคาร รวมไปถึงเว็บไซต์ของธนาคารนั้น ๆ และควรเขียนหมายเหตุด้วยว่ากฎของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้บังคับใช้กับธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน เพราะธนาคารรัฐมีกฎหมายจัดตั้งเป็นพิเศษ เรื่องดอกเบี้ยจึงไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
2. อัตราดอกเบี้ย MRR, MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เนื่องจากต้นทุนของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน โดยต้นทุนที่เกี่ยวข้องของแต่ละธนาคารอาจจะขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสำรอง จำนวนหนี้เสีย และสภาพคล่องของธนาคาร
3. ถือเป็นเรื่องปกติหากมีลูกค้าสองคนเดินเข้าไปที่ธนาคารเดียวกันเพื่อขอกู้สินเชื่อเช่นเดียวกัน แต่ได้อัตราดอกเบี้ยต่างกัน

Categories
News & Activities

ทำความรู้จักกับ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)”

ตอนนี้การไปตรวจเครดิตบูโร ไม่ได้มีแค่การเช็กประวัติการชำระหนี้รายบัญชีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตรวจ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)” ด้วย เป็นบริการสำหรับลูกหนี้ที่ต้องการเข้าใจสถานการณ์เครดิตของตัวเองให้ลึกที่สุด ด้วยมุมมองเดียวกับที่สถาบันการเงินใช้ประเมินผู้ขอสินเชื่อ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)”

เครดิตสกอริ่ง (Credit Score) คืออะไร?

“Credit Score” (บ้างเรียกว่า “คะแนนเครดิต” หรือ “เครดิตสกอริ่ง”) คือเครื่องหมายหรือตัวเลข ที่เป็นผลรวมจากการประเมินข้อมูลทางสถิติของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ว่ามีโอกาสที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ที่ก่อไว้ โดยคำนวณจากประวัติการก่อหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ในอดีตของคน ๆ นั้น ซึ่งถูกประเมินด้วยกระบวนการทางสถิติ โดยสถาบันการเงินจะ Credit Scoring เพื่อประกอบการอนุมัติสินเชื่อ

Credit Scoring แบ่งเป็น 8 ระดับ เรียงจากมีโอกาสผิดชำระหนี้มากที่สุดระดับ HH ไปสู่โอกาสผิดชำระหนี้น้อยที่สุดระดับ AA ตั้งแต่คะแนน 300-900

Credit Score ของเรา ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง

  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด
  • จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
  • ความยาวของประวัติสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี
  • ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
  • ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่

ตัวอย่างและการอธิบายส่วนต่างๆของ รายงาน

  1. ประเภทคะแนนเครดิต

แสดงเป็นค่า Version Score ของคะแนนเครดิต ใช้สำหรับภายในบริษัทเป็นค่าคงที่

  1. คะแนนเครดิต

แสดงคะแนนแครดิตที่ผ่านการประเมินแล้วของผู้ถูกประเมิน

  1. ระดับคะแนนเครดิต

แสดงระดับคะแนนตั้งแต่ AA ที่ระดับสูงสุด ไปจนถึง HH ที่ระดับต่ำสุด ที่ได้จากการคำนวณทางสถิติ โดยใช้ข้อมูลการก่อหนี้และประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละราย

  1. ความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน

แสดงความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืนเป็นเปอร์เซนต์

  1. ตารางแสดงคะแนนเครดิต

แสดงช่วงคะแนนและระดับคะแนน

  1. คำอธิบายการให้คะแนนเครดิต

แสดงเหตุผลประกอบการให้คะแนนว่าให้คะแนนเครดิตจากส่วนไหนบ้าง โดยจะแสดงไม่เกิน 5 รายการ

  1. คำอธิบายความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน

บอกข้อมูลเชิงสถิติและความน่าจะเป็น

มาตรวจ Credit Score กับเครดิตบูโร สามารถขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ในขอบเขตดังนี้

  • ขอตรวจสอบแก้ไขข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง
  • ให้คำปรึกษาในกรณีถูกปฏิเสธสินเชื่อ โดยมีหนังสือยืนยันจากสถาบันการเงินว่าเป็นเหตุมาจากข้อมูลเครดิตหรือเครดิตสกอริ่ง
  • ให้คำปรึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้คำแนะนำให้การอ่านรายงานเครดิตบูโรและเครดิตสกอริ่ง
  • รับคำขอใช้สิทธิบันทึกข้อโต้แย้งตามที่กฎหมายรองรับสิทธิเจ้าของข้อมูล
  • ให้คำแนะนำกับทางเครดิตบูโร เพื่อนำไปพัฒนาการให้บริการ

การที่เรามีคะแนนที่ดีช่วยอะไรเราได้?

  1. เพิ่มโอกาสให้กับลูกค้า (เจ้าของข้อมูล)

ได้รับบริการสินเชื่อ ที่สอดคล้องกับข้อมูลความสามารถในการชำระหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ของตนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

  1. มีความรูที่จะไม่สร้างความเสี่ยงทางการเงิน

เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางด้านการเงินที่เกินสมควร และช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเงินที่มีดิอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน

ความมมั่นคงของสถาบันการเงินของประเทศนั้นเริ่มต้นจากการที่เราสร้างมาตรฐานที่ดีในการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการชำระหนี้หรือการใช้เงินทุกรูปแบบ

Categories
News & Activities

แนะนำ 7 แอป ตรวจเครดิตบูโร ด้วยตนเอง พร้อมขั้นตอนใช้งาน

จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถตรวจเครดิตบูโรได้เองด้วยวิธีที่ง่ายดายและราคาสบายกระเป๋า ไม่ต้องไปเสียเงินหลายต่อและรอเวลานาน โดยค่าใช้จ่ายขึ้นกับว่าต้องการรายงานข้อมูลเครดิตรูปแบบไหน ถ้ารายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท ส่วนรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) ค่าธรรมเนียม 200 บาท ที่สำคัญรู้ผลทันที (Realtime)

1.ตรวจเครดิตบูโร ผ่านแอป “ธนาคารกรุงเทพ” รู้ผลทันที

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงเทพรู้ผลทันที

  1. เลือกเมนู “ธุรกรรม” และเลือก “ขอตรวจเครดิตบูโร”
  2. เลือกประเภทรายงานได้ 2 แบบ
    – รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง)
    – รายงานข้อมูลเครดิต
  3. อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข และกดยอมรับ
  4. ตรวจสอบข้อมูล/แก้ไขที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารทั้งอีเมลและที่อยู่กรณีส่งอีเมลไม่สำเร็จ
    (หมายเหตุ: หากจัดส่งไปที่อีเมลไม่สำเร็จภายใน 3 วัน นับจากวันทีส่งคำขอ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะจัดส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์)
  5. ตรวจสอบคำขอรายงานข้อมูลเครดิตพร้อมค่าใช้จ่าย
    – รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) ค่าธรรมเนียม 200 บาท
    – รายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท
  6. ขอยืนยันตัวตนการทำรายการผ่านระบบ NDID
  7. ระบบแสดงรายการคำขอยืนยันตัวตน เลือก “ต่อไป”
  8. ชำระค่าธรรมเนียมการขอตรวจเครดิตบูโร
  9. เมื่อทำรายการสำเร็จ เราจะได้รับสลิปเป็นหลักฐาน (สามารถเรียกดูรายการขอข้อมูลรายงานเครดิตได้โดยเลือกแถบ “ประวัติการขอ” จากหน้าขอตรวจเครดิตบูโร)

วิธีรับผลรายงานได้

ทางธนาคารกรุงเทพจะส่งผลให้ทางอีเมลทันที แต่หากหากจัดส่งไปที่อีเมลไม่สำเร็จภายใน 3 วัน นับจากวันทีส่งคำขอ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะจัดส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์

รายละเอียดเพิ่มเติม wwww.bangkokbank.com/mobilebanking หรือโทร. 1333

2 .ตรวจเครดิตบูโร ผ่านแอป “MyMo” ของธนาคารออมสิน

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารออมสิน รู้ผลใน 24 ชั่วโมง

  1. เลือกเมนู “ขอตรวจเครดิตบูโร”
  2. เลือกประเภทรายงาน “รายงานข้อมูลเครดิต” หรือ “รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอร์ริ่ง”
  3. เลือกรูปแบบการรับข้อมูลที่ต้องการระหว่าง “อีเมล (PDF)” หรือ “ส่งทางไปรษณีย์” จากนั้นกด “ถัดไป”
  4. อ่านรายละเอียดการยืนยันการขอข้อมูลเครดิต และกด “ยืนยัน” หากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว ติดต่อสาขา
  5. อ่านข้อกำหนด และเงื่อนไข เลื่อนจนสุดหน้า และกดเครื่องหมายถูก “ข้าพเจ้าอ่าน และยอมรับในข้อกำหนด และเงื่อนไขฯ” และกด “ยอมรับ”
  6. ทำการตรวจสอบจำนวนเงิน และ “เลื่อนเพื่อส่ง” เพื่อทำการชำระเงิน
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิต” 150 บาท
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอร์ริ่ง” 200 บาท
  7. ตรวจสอบรายละเอียดในการชำระเงิน และการขอข้อมูลเครดิตอีกครั้ง จากนั้น กด “ยืนยัน”
  8. กรอกรหัสผ่าน MyMo และกด “ถัดไป” เพื่อทำการยืนยันการขอข้อมูลเครดิต
  9. หน้าจอแสดง e-Slip ที่ ได้ทำการชำระเงินและเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอรายงาน กดเพื่อบันทึกเก็บไว้ในคลังภาพ

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 24 ชั่วโมง*
    (*ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 1143 MyMo Call Center

3. ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอป “Krungthai NEXT” ของธนาคารกรุงไทย

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงไทย รู้ผลใน 24 ชั่วโมง

  1. เลือกเมนูบริการ
  2. เลือกเมนูตรวจเครดิตบูโร
  3. เลือกรูปแบบการรับข้อมูลระหว่าง 1) อีเมล หรือ 2) ไปรษณีย์ กรอกรายละเอียดและกดปุ่ม “ถัดไป”
  4. กดยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข
  5. ตรวจสอบข้อมูลแล้วกดยืนยัน
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิต” 150 บาท
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอร์ริ่ง” 200 บาท
  6. ใส่รหัส PIN
  7. หน้าจอแสดงผลการทำธุรกรรม (e-Slip) กดปุ่มเสร็จสิ้นและรอรายงานตามช่องทางที่เลือกรับข้อมูล

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 24 ชั่วโมง*
    (*ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  02-111-1111 หรือ call.callcenter@ktb.co.th

4.ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอป “ttb touch” ของธนาคารทหารไทยธนชาต

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิต

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารทีเอ็มบีธนชาต รู้ผลใน 3 วัน

  1. Login แอป เลือกเมนู อื่น ๆ
  2. เลือก “ขอข้อมูลเครดิตบูโร”
  3. เลือกรูปแบบการรับข้อมูล
  4. ตรวจสอบข้อมูล (ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์) ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน หากไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนดก่อนใช้บริการ
  5. อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข เลือก “ข้าพเจ้าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข” และ กด “ถัดไป”
    – กดชำระค่าธรรมเนียม 150 บาท
    – ตรวจสอบข้อมูลการจัดส่ง หากถูกต้อง กด “ยืนยัน”
  6. รอรับรายงานทางอีเมลหรือไปรษณีย์

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 3 วันทำการ
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

5. แอปตรวจเครดิตบูโร “KKP Mobile” ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร รู้ผลทันที

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่าน KKP รู้ผลทันที

  1. เข้าเมนู “ตรวจสอบข้อมูลเครดิต”
  2. เลือกรายการ “เพิ่มคำขอ”
  3. เลือกรูปแบบข้อมูลเครดิตได้ 2 รูปแบบ 1) รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต 2) รายงานข้อมูลเครดิต
  4. เลือกบัญชีเงินฝากที่ต้องการหักบัญชี ค่าธรรมเนียม 200 บาท
  5. กดตอบรับข้อความต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการขอข้อมูลเครดิต
  6. กดยืนยันด้วย Pin Code ในการทำรานการขอข้อมูล รับรายงาน 2 รูปแบบ 1) แสดงผลผ่านแอป 2) อีเมล
  7. รับรหัส 6 หลักทางมือถือ (Realtime) สำหรับเปิดดูรายงานข้อมูลเครดิต

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. แสดงผลผ่านหน้าจอแอป KKP ทันที (Realtime) เฉพาะรายงานเครดิตสกอริ่ง และรายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุปเท่านั้น
  2. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลได้ทันที (Realtime)

6.ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอป “Flash Express”

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่าน Flash Express รู้ผลใน 24 ชั่วโมง

  1. ขั้นตอนการเข้าโมบายแอป Flash Express
  • Download แอป Flash Express และทำการลงทะเบียน
  • เข้าสู่ระบบโดยหมายเลขโทรศัพท์มือถือและรหัสยืนยัน
  • ไปที่ หน้า “โปรไฟล์”
  1. ขั้นตอนการเข้าสู่หน้าหลักบริการ แฟลช มันนี่ และการยืนยันตัวตน
  • เลือกเมนู แฟลช มันนี่
  • ก่อนใช้บริการขอตรวจเครดิตบูโร ต้องผ่านการยืนยันตัวตนจนเสร็จสิ้นกระบวนการ Dip Chip
  • กระบวนการ Dip Chip ทำตามใน APP แจ้งรายละเอียดสอบถาม customer service
  1. การขอรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เข้าสู่หน้าหลัก แฟลช มันนี่ และเลือกเมนู ขอตรวจเครดิตบูโร
  • เลือกประเภทรายงาน
    1. รายงานข้อมูลเครดิต
    2. รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เลือกช่องทางการรับข้อมูล “จัดส่งทางอีเมล ” หรือ “จัดส่งทางไปรษณีย์”
  • อ่านข้อกำหนด และเงื่อนไข เลื่อนจนสุดหน้า และกด “ฉันได้อ่านทั้งหมด และยินยอม”
  • อ่านรายละเอียดการยืนยันการขอ ข้อมูลเครดิต และกด “ยืนยัน”
  • ทำการตรวจสอบจำนวนเงิน และเลือก “QR Payment” เพื่อทำการชำระเงิน
    1. รายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท
    2. รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ค่าธรรมเนียม 200 บาท
  • ใส่ PIN ยืนยันการทำรายการ
  • ชำระเงินโดย QR Code
  • ระบบทำการ Save Image ลูกค้าสามารถเช็กได้ใน App ทุกเวลาและสามารถทำการลงอัลบั้มรูปของเครื่องมือถือ

เงื่อนไขในการให้บริการ

ผู้ใช้บริการจะต้องดำเนินการลงทะเบียนสมัครใช้บริการตามเงื่อนไขของ Flash Money และยืนยันตัวตนก่อนการใช้บริการด้วยวิธีการ DIP CHIP จนเสร็จสิ้นกระบวนการ

ทั้งนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ Flash Money เป็นผู้กำหนดแต่เพียงผู้เดียว

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 3 วันทำการ
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

7. ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอปผ่านแอป “เป๋าตัง”

ขั้นตอน ตรวจเครดิตบูโร ด้วยเป๋าตังเปย์ ผ่านแอปเป๋าตัง

1. เข้าแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

2. คลิกที่ “เป๋าตังเปย์”

3. เลือกที่บริการ “ตรวจเครดิตบูโร”

4. เลือกประเภทรายงานมีให้เลือก 2 ประเภท

  • รายงานข้อมูลเครดิต
  • รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง)

5. เลือกช่องทางการรับรายงาน

  • รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลภายใน 24 ชม.
  • รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ภายใน 7 วันทำการ)

6. อ่านทำความเข้าใจ ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข

7. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

8. ชำระค่าธรรมเนียมการข้อเอกสาร

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

ผู้ขอเอกสารเครดิตบูโรผ่านเป๋าตังเปย์ในแอปเป๋าตังสามารถเลือกได้ว่าจะรับข้อมูลผ่านทางอีเมลหรือทางไปรษณีย์ซึ่งระยะเวลาแตกต่างกัน ดังนี้

  • รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลภายใน 24 ชม.
  • รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ภายใน 7 วันทำการ)

โดยทั้ง 2 ช่องทางค่าใช้จ่ายเท่ากัน

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb.co.th หากพบปัญหาในการรับข้อมูลเครดิต ติดต่อ consumer@ncb.co.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111

Categories
News & Activities

ธปท. จัด Media Briefing เรื่อง สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดย คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน

สรุปประเด็น สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธปท. ติดตามสถานการณ์ หนี้ ครัวเรือนใกล้ชิดและผลักดันการดําเนินการตามมาตรการแก้ หนี้ ระยะยาว กับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน

เพื่อให้เจ้าหนี้ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้กลับมาฟื้นตัวได้ โดยสัดส่วน หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ทยอยลดลงจากที่เร่งตัวสูงในช่วงโควิด โดย ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP (เพิ่มขึ้นจากการปรับข้อมูลให้ครอบคลุมผู้ให้กู้เพิ่มขึ้น ซึ่ง เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ที่เพิ่งเกิดใหม่ โดยจากข้อมูลชุดใหม่ หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2565 อยู่ที่ 91.4%) ขณะที่จํานวนบัญชีและยอดหนี้ของสินเชื่อที่ค้างชําระเกิน 90 วัน จากผลกระทบของโควิด (ลูกหนี้รหัส 21) ล่าสุดได้ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2565 แล้ว จากการเร่งปรับ โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ในระยะต่อไป NPL อาจทยอยปรับขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อย หรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว แต่จะไม่เห็น NPL cliff และเป็นระดับที่ สง. บริหารจัดการได้

สอดคล้องกับมุมมองของ Rating agencies ต่อภาคธนาคารไทยที่ยังมั่นคง อีกทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะทําให้ ความสามารถในการชําระหนี้ปรับดีขึ้น โดยหนี้กลุ่มเปราะบางที่อาจเสื่อมคุณภาพลง ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สูง และกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจํา ซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือแล้ว แต่ยังกลับมา ชําระหนี้ไม่ได้ สําหรับสินเชื่อรถยนต์ ที่จัดชั้น stage 2 (SM) ที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงโควิด ไม่จําเป็นว่าจะ กลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด ดูได้จากพฤติกรรมของลูกหนี้ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าอาจเว้นงวดผ่อนรถเพื่อ นําเงินไปหมุนจ่ายภาระอื่น ทําให้โดยทั่วไป SM ของสินเชื่อรถยนต์จะอยู่ในระดับสูงกว่าสินเชื่อรายย่อย ประเภทอื่น ซึ่ง ธปท. ได้กําชับ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ให้เร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว นอกจากนี้ ลูกหนี้บัตร เครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันและเป็นหนี้เสียค้างชําระเกินกว่า 120 วัน ก็สามารถเข้าร่วม คลินิกแก้หนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาระรายเดือนอยู่ในระดับที่สามารถชําระคืนได้

ธปท. จะเร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ซึ่งต้องทําอย่างครบวงจร ถูกหลักการ และร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยแนวทางดังกล่าวจะครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่การก่อหนี้ใหม่ที่มี คุณภาพ การดูแลหนี้เดิมโดยเฉพาะ NPL และหนี้เรื้อรัง รวมถึงช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบ โดยแนวทางที่ ธปท. จะดําเนินการ คือ (1) เกณฑ์ Responsible Lending (RL) ที่กําหนดให้เจ้าหนี้ ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ หนี้มีปัญหา จนถึงการขายหนี้ โดยลูกหนี้ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ทันเวลา มีคุณภาพ และเพียงพอมีแนวทางการดูแลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง ให้เห็นทางปิดจบหนี้ได้ (2) กลไก Risk-based pricing (RBP) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ และช่วยให้ลูกหนี้จ่ายอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงและได้รับการ ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยหลักการสําคัญคือลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงตํ่าควรได้รับดอกเบี้ยที่ตํ่าลง และเพิ่ม โอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสําหรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง และ (3) มาตรการ Macroprudential policy (MAPP) ให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่อสอดคล้องกับความสามารถในการชําระหนี้ และลูกหนี้มีเงินเหลือพอ ดํารงชีพ ไม่นําไปสูงการก่อหนี้สินเกินตัว เช่น การคุมหนี้ไม่ให้อยู่ในระดับสูงเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ใน แต่ละเดือน (DSR) ทั้งนี้ สําหรับแผนการนํามาใช้ในส่วนของ RL และการแก้หนี้เรื้อรังจะบังคับใช้ก่อน เป็นลําดับแรก ตามมาด้วยมาตรการ RBP สําหรับในเรื่อง MAPP การนํามาใช้จะต้องพิจารณาให้ เหมาะกับบริบทของเศรษฐกิจ โดย ธปท. จะชี้แจงรายละเอียดในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ต่อไป

 

การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น เพื่อขยายผลไปยังอีก 30% ของหนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกํากับของ ธปท. ด้วย

เช่น การปลูกฝังให้ลูกหนี้มีความรู้และวินัยทางการเงิน การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบของเจ้าหนี้ทั้งระบบ การพัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ประเมินและติดตามหนี้ และการแก้จน/ สร้างรายได้ เป็นต้น

Categories
News & Activities

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง หวังพรรคการเมืองชูนโยบายแก้หนี้แบบตรงกลุ่มเป้าหมาย

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง หวังพรรคการเมืองชูนโยบายแก้หนี้แบบตรงกลุ่มเป้าหมาย

ภาพรวมหนี้ครัวเรือนของไทยขณะนี้อยู่ที่ 15 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 87% ของจีดีพี เกินระยะอันตรายของหนี้ครัวเรือนคือ 85% แล้ว ขณะที่ เป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับ 80% ของจีดีพี

หนี้ในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13 ล้านล้านบาท ในจำนวน 32 ล้านคน และพบว่า  9.8 แสนล้านบาท “เป็นหนี้ที่เสีย”

บางคนโดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ภาคบริการต่างๆ ก่อนช่วงโควิด-19 ที่ภาคการท่องเที่ยวเติบโตลูกหนี้กลุ่มนี้อยู่ในระดับเกรดเอ แต่ ณ วันนี้ กลับติดกับดักหนี้เสีย คือกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดย มีอยู่ราว 3.1 ล้านคน มูลค่าหนี้กว่า 3.3 แสนล้านบาท

เข้าใจนโยบาย “พักหนี้” แต่ควรดูให้รอบด้าน

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร ขยายความคำว่า “พักหนี้”  หรือ “พักการชำระหนี้” คือ เมื่อหนีถึงกำหนดแต่ยังไม่ต้องจ่าย ก็ไม่ถือว่ามีความผิด แต่เมื่อพักแล้ว เจ้าหนี้จะจัดการกับก้อนหนี้อย่างไร ดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องวางมาตรการให้ชัดเจนและมีความประณีต หรือกรณีที่ แช่แข็งหนี้ โดยที่หยุดดอกเบี้ยไว้ แล้วในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากต้องคำนึงถึงฝั่งผู้ฝากเงินด้วย

กาง Big DATA เครดิตบูโร  เกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอย ของคนไทย

จำนวนผู้ที่อยู่ในระบบเครดิตบูโรมีจำนวน 32 ล้านคน กับอีก  4 แสนบริษัท มูลค่าราว 7-8 ล้านล้านบาท คลอบคลุม 126 สถาบันการเงิน เช่าซื้อ นาโนไฟแนนซ์ พิโกไฟแนนซ์ ซึ่งพบว่า

  • กลุ่มเจน z (อายุ 20-22 ปี) มียอดหนี้ 1.8 แสนล้านบาท เป็นหนี้เสียแล้ว 1.1 หมื่นล้านบาท
  • กลุ่มเจน X มียอดหนี้ 5.6 ล้านล้านบาท เป็นหนี้เสียแล้ว 3.4 แสนล้านบาท
  • กลุ่มเจน Y กู้ มียอดหนี้ 4.1 ล้านล้านบาท เป็นหนี้เสียแล้ว 2.7 แสนล้านบาท
  • กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ มียอดหนี้ 1.3 ล้านล้าน เป็นหนี้เสียแล้ว 9 หมื่นล้าน

Categories
News & Activities

ภาษีความหวาน คืออะไร?

ภาษีความหวาน คืออะไร?

ภาษีความหวาน กลไกสร้างสุขภาพคนไทยด้วยมาตรการภาษี ได้เดินหน้าเข้าสู่ระยะที่ 3 ในวันที่ 1 เม.ย.2566 ตามแนวทางปรับโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ส่วนเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้ความหวานตัวใดต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นบ้าง ?

 

อัตราภาษีเครื่องดื่มรสหวาน

อัตราภาษีความหวานคํานวณจากปริมาณน้ําตาลต่อ 100 มิลลิลิตร โดยอัตราภาษีความหวานของเครื่องดื่มที่กรมสรรพสามิตใช้จะแบ่งเป็น 4 ระยะ ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มอัตราภาษีในแต่ละระยะ เพื่อให้ เวลาผู้ประกอบ การที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มรสหวานได้ปรับตัว

โดยปัจจุบันเราอยู่นะระยะที่ 3 (ระหว่าง 1 เมษายน 2566 – 30 กันยายน 2567) อัตราภาษีความหวาน มีรายละเอียดดังนี้

  • ต่ำกว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี
  • 6-8 กรัม เสียภาษี 0.3 บาทต่อลิตร
  • 8-10 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
  • 10-14 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
  • 14-18 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ระยะที่ 4 เริ่มใช้ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป มีอัตราภาษีความหวาน ดังนี้:

  • ต่ำกว่าว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี
  • 6-8 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
  • 8-10 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
  • 10-14 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ภาษีความหวานจะมีการปรับขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 ปี ซึ่งระยะที่ 3 จะมีผล 1 เมษายนนี้แล้ว ถ้าผู้ประกอบการไม่ปรับตัวในการผลิต โดยลดความหวานลงจะเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องดื่มที่มีสารความหวาน 10-14 กรัมต่อลิตร จะเสียภาษีเพิ่มจาก 1 บาท เป็น 3 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ผลิตทยอยลดปริมาณน้ำตาลลงแล้ว ซึ่งจะไม่ทำให้มีภาระภาษีเพิ่มแต่อย่างใด

 

แหล่งที่มา prachachat.net

Categories
News & Activities

วิกฤติอสังหาฯ จีน (Chinese Property Crisis)

วิกฤติอสังหาฯ จีน (Chinese Property Crisis) เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน ทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนมีการกู้ยืมเงินอย่างมากมายเพื่อลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีหนี้สินสะสมสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มนโยบายกำกับการกู้ยืมเงินและการควบคุมราคาที่ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ล้มเหลว และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บางแห่งล้มละลายลงเกิดความไม่มั่นคงในตลาดทรัพย์สินและทรัพย์สินต่าง ๆ ในประเทศจีน และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมากมาย โดยเฉพาะในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียและยุโรป โดยวิกฤตนี้เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 (2021-2022)

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ได้รายงานว่าผู้ปล่อยสินเชื่อทั่วโลก (Global Creditors) กำลังเผชิญกับปัญหาที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จีนไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ เพราะขาดสภาพคล่องที่เกิดปัญหาขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์มานานถึง 3ปีติดต่อกันจากวิกฤติโควิด-19

สำหรับผู้ปล่อยกู้ที่ไม่ได้รับเงินคืนเรียกร้องให้ผู้ผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรรับผิดชอบกรณีดังกล่าว แต่เนื่องด้วย “กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้” (Debt Restructuring Processes) ที่ยาวนานและ “การฟ้องร้องดำเนินคดี” เป็นไปได้ยากที่จะเกิดผลสำเร็จ ขณะที่ผู้เสียหายส่วนใหญ่ยื่นคำร้องขอให้ปิดกิจการ (Winding-up Petitions) ซึ่งท้ายที่สุดอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดการขายกิจการเหล่านั้นด้วยราคาแบบลดกระหน่ำ และมีส่วนน้อยไม่กี่ที่รายแจ้งความจำนงให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินการกรณีดังกล่าวตามขั้นตอนของทางการ

แม้จะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเสนอการปรับปรุงหนี้ (Debt Revamp Proposals) บ้าง ทว่า “ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป” (China Evergrande Group) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีน แสดงความกังวลว่า บรรดานักลงทุนอาจต้องรออีกหลายปีกว่าจะได้รับเงินคืน

ข้อมูลที่รวบรวมโดยบลูมเบิร์กระบุว่า การค้างชำระหนี้พันธบัตรของภาคเอกชน (Corporate Delinquency) ในจีนปี 2565 รวมอยู่ที่ 4.65 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.53 ล้านล้านบาท) ซึ่งผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผิดนัดชําระหนี้พันธบัตรมากกว่า 140 รายการ มูลค่ารวมทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.65 ล้านล้านบาท) ตามมูลค่าพันธบัตรที่ปล่อยออกไปทั้งหมดในปีเดียวกัน

หนึ่งในทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ คือไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ปอาจต้องสลับพันธบัตรชนิดเก่ากับพันธบัตรชนิดใหม่พร้อมยืดวันหมดอายุสินทรัพย์ให้ยาวกว่าเดิมเป็น 12 ปี

 

แหล่งอ้างอิง (bangkokbiznews.com)

 

 

Categories
News & Activities

คำนวณค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง ปี2566

การซื้อขายที่ดินหรือที่พักอาศัย นอกจากมูลค่าที่อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจ่ายแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ มาด้วย ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการโอน ทั้งโอนบ้าน โอนที่ดิน มาดูกันว่าเราต้องเสียค่าอะไรบ้าง ค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง ต้องเสียเท่าไหร่ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายในการโอนอสังหาริมทรัพย์

ในการซื้อขายบ้านและที่ดิน จะมีค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เราต้องเสียให้กับสำนักงานที่ดิน ดังนี้

-ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท

-ค่าอากร 5 บาท

-ค่าพยาน 20 บาท

-ค่าธรรมเนียมในการโอน

-ค่าจดจำนอง

-ค่าอากรแสตมป์

-ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

-ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ค่าธรรมเนียมในการโอน หรือ ค่าโอนที่ดิน

คิดเป็น 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย แต่ในปี 2566 ครม. มี มติปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 1% เพื่อกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาฯ มากขึ้น และสนับสนุนให้ประชาชน มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยมีเงื่อนไขคือ

  1. เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝดบ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด
  2. ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน
  3. ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
  4. ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2566
  5. ผู้ซื้อต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
ค่าจดจำนอง

กรณีซื้อบ้านหรือที่ดินโดยใช้สินเชื่อธนาคารหรือกู้เงินจะเสียค่าจดจำนองด้วย ซึ่งปกติคิด 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ปี 2566 ได้ปรับลดลงเหลือ 0.01% ตามเงื่อนไข (หากใครซื้อบ้านด้วยเงินสดจะไม่เสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้)

  1. เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด
  2. ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน
  3. ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
  4. ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2566
  5. ผู้ซื้อต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย

แต่ถ้ามูลค่าการซื้อ-ขายมากกว่า 3 ล้านบาท ค่าจดจำนองยังคงคิด 1% ตามเดิม

อ้างอิง : MONEY BUFFALO

Categories
News & Activities

อัปเดตดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์บ้าน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี2566 (ล่าสุด)

รีไฟแนนซ์ (Refinance) คืออะไร

คือ การกู้เงินก้อนใหม่เพื่อไปชำระคืนกับเจ้าหนี้เดิม โดยเงินกู้ก้อนใหม่นั้นมักจะมีเงื่อนไขให้การกู้ยืมที่ดีมากกว่าข้อดีของการ “รีไฟแนนซ์” คือ จะช่วยให้เราผ่อนบ้านได้หมดเร็วขึ้น ถ้าเราจ่ายค่างวดเท่าเดิมแต่จ่ายส่วนที่เป็นดอกเบี้ยน้อยลง เราก็จะลดเงินต้นได้เร็วมากขึ้น หรือบางคนที่ผ่อนบ้านไปแล้วเกิดปัญหา เงินติดขัด หมุนไม่ทัน ก็สามารถ “รีไฟแนนซ์” เพื่อขอลดค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือนลงหรือเป็นการยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้นได้

รีเทนชั่น (Retention) คืออะไร

คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม ซึ่งเราสามารถเดินเข้าไปเจรจากับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินว่าขอลดดอกเบี้ยได้ ซึ่งการทำ “Retention” อาจจะไม่ได้อัตราดอกเบี้ยที่น่าดึงดูดเท่ากับเราไปขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ แต่การทำ Retention จะช่วยลดความยุ่งยากและไม่ต้องมาคำนวณเรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย รวมไปถึงใช้เวลาเพียง 7 วันเท่านั้น ในการขออนุมัติ ถึงจะรู้ผล เร็วกว่าการขอรีไฟแนนซ์อย่างมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบประวัติผู้กู้ เนื่องจากธนาคารเดิมมีข้อมูลของเราอยู่แล้ว

อ้างอิง : MONEY BUFFALO 

Categories
News & Activities

เมื่อเจ้าของบัตรเครดิตเสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบหนี้?

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : เมื่อเจ้าของบัตรเครดิตเสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบหนี้ ?

  • บิดาหรือมารดาเป็นเจ้าของบัตรเครดิตผู้มีหน้าที่รับภาระต้องเป็น “บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย” เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ แต่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่จำเป็นต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน หากไม่มีทรัพย์มรดกตกทอด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
  • คู่สมรสเป็นเจ้าของบัตรเครดิตกรณีที่มีการจดทะเบียนสมรส และหนี้บัตรเครดิตเกิดขึ้นภายหลังการสมรส สามีหรือภรรยาของคู่สมรสที่เสียชีวิต อาจต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สิน ก้อนนั้น ๆ หากพิสูจน์ได้ว่า หนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายร่วมกันในระหว่างสมรส ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยา
  • ผู้ถือบัตรเสริมเนื่องจากบัตรเสริมและบัตรหลักของบัตรเครดิตนั้น “ใช้วงเงินร่วมกัน” จึงต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิตทั้งนี้ หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี นับแต่มีการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินครั้งสุดท้าย และเป็น “คดีแพ่ง” ไม่ใช่คดีอาญาจึงไม่มีโทษจำคุก แต่หากไม่ชำระหนี้ สถาบันการเงินมีสิทธิบังคับคดีด้วยการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือหักเงินเดือน

ข้อมูลจาก : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 มาตรา 1627มาตรา 1629 มาตรา 1490 มาตรา 193/34 (7)

อ้างอิง : กระทรวงยุติธรรม MINISTRE OF JUSTICE (moj.go.th)