Categories
News & Activities

วิกฤตสินเชื่อบ้าน: ภาระหนี้ Gen Y ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจไทย

สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ( เครดิตบูโร ) โพสต์ Facebook โดยเปิดเผยรายงานภาพรวมตลาดสินเชื่อบ้านในไตรมาสแรกปี 2567 นั้นยังค่อนข้างน่าเป็นห่วง จากข้อมูลล่าสุดจากเครดิตบูโรแสดงภาพรวมที่ทำให้เห็นถึงสัญญาณต่างๆที่บ่งบอกถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติสินเชื่อที่ลดลงส่งผลให้มีผู้กู้รายใหม่น้อยลง และปริมาณหนี้เสียและหนี้กำลังจะเสียที่เพิ่มสูงขึ้น ในปริมาณหนี้นี้กว่าครึ่งเป็นของกลุ่ม Gen Y ที่แบกรับหนี้เหล่านี้อยู่

ตลาดสินเชื่อบ้านซบเซา

บรรยากาศในตลาดสินเชื่อบ้านช่วงไตรมาสแรกปีนี้เต็มไปด้วยความอึมครึม ผู้ขอสินเชื่อจำนวนมากต้องพบกับความผิดหวังเมื่อถูกปฏิเสธถึง 50% สาเหตุหลักมาจากการที่สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อ ทั้งในด้านการตรวจสอบรายได้และประวัติทางการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงจากหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ จำนวนบัญชีสินเชื่อบ้านใหม่ที่เปิดในไตรมาสแรกปีนี้ยังลดลงอย่างน่าใจหาย เหลือเพียง 5.9 หมื่นบัญชี เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีมากถึง 4.3 แสนบัญชี สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่อยู่อาศัยที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในการทำงานของผู้บริโภค

 

กราฟแท่งสีแดงคือหนี้ที่ค้างเกิน​ 90 วัน หรือหนี้เสียของสินเชื่อบ้าน​ แท่งสีเหลืองคือหนี้กำลังจะเสียหรือ​ SM สินเชื่อบ้าน​ กราฟแท่งด้านซ้ายคือจำนวนบัญชีแยกตามช่วงวัยของ​ Generation ในแต่ละไตรมาส​ เช่น ไตรมาส​ 1 ปี​ 2567​ Gen Y ถือสัญญาสินเชื่อบ้านที่เป็น​ NPL เท่ากับ​ 83,281 สัญญา​ คิดเป็นเงิน​ 1.24 แสนล้านบาท​

หนี้เสียพุ่งสูง – Gen Y แบกภาระหนัก

ปัญหาที่น่ากังวลที่สุดคือปริมาณหนี้เสีย (NPL) สินเชื่อบ้านที่เพิ่มขึ้นถึง 2 แสนล้านบาท หรือเติบโต 18% จากปีก่อนหน้า ขณะที่หนี้กำลังจะเสีย (SM) ก็สูงถึง 1.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% สิ่งที่น่าตกใจคือกลุ่มคน Gen Y ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กลับกลายเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนหนี้เสียและหนี้กำลังจะเสียรวมกันมากกว่า 50% ของทั้งหมด

สาเหตุที่ Gen Y ต้องเผชิญกับวิกฤตหนี้สินเช่นนี้มีหลายประการ ทั้งภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำ รายได้ไม่เพิ่มขึ้น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้หลายคนก่อหนี้เกินตัวโดยไม่ได้วางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

วิกฤตหนี้สินเชื่อบ้านที่เกิดขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้กู้และสถาบันการเงินเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศด้วย หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนและการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การถูกยึดบ้าน การล้มละลาย หรือแม้กระทั่งการฆ่าตัวตาย

ทางออกและแนวทางแก้ไข

เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สินเชื่อบ้าน จำเป็นต้องมีมาตรการที่ครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

  • ระยะสั้น: รัฐบาลและสถาบันการเงินควรเร่งออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ การลดดอกเบี้ย หรือการพักชำระหนี้
  • ระยะยาว: ส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับประชาชน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ เพื่อให้มีการจ้างงานและรายได้ที่มั่นคง

วิกฤตหนี้สินเชื่อบ้านเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทาย แต่หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง ก็ยังมีโอกาสที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ และนำพาเศรษฐกิจไทยไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน

 

ที่มา : Facebook ส่วนตัวคุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ( เครดิตบูโร )

 

บทความน่าสนใจ : หนี้บัตรเครดิตพุ่ง 1 ล้านใบ! จ่ายขั้นต่ำ 8% ไหวมั้ย? – PINNACLE (pinnacle-amc.co.th)

 

Categories
News & Activities

หนี้บัตรเครดิตพุ่ง 1 ล้านใบ! จ่ายขั้นต่ำ 8% ไหวมั้ย?

หนี้บัตรเครดิตพุ่ง 1 ล้านใบ! จ่ายขั้นต่ำ 8% ไหวมั้ย?

ในยุคปัจจุบัน บัตรเครดิตกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้จ่าย สะดวก รวดเร็ว และทันใจ สำหรับใครหลายๆคน แต่ในขณะเดียวกัน บัตรเครดิตก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่พร้อมจะฟาดฟันผู้ใช้ที่ประมาท ทำให้เป็นหนี้เป็นสิน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต จากข้อมูลของเครดิตบูโร ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า ยอดหนี้เสียจากบัตรเครดิตพุ่งสูงถึง 1 ล้านใบ คิดเป็นมูลค่ากว่า 6.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 14.6% yoy สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเศรษฐกิจและภาระหนี้สินครัวเรือนที่ประชาชนแบกรับ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการปรับขึ้นอัตราการชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตเป็น 8% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ส่งผลให้ประชาชนมีภาระในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 10% ในปี 2568

อาจเป็นรูปภาพของ แผนที่ และ ข้อความ

กลุ่ม Gen Y ได้รับผลกระทบหนัก

จากข้อมูลพบว่า กลุ่ม Gen Y เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากหนี้เสียบัตรเครดิตมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เปิดบัตรเครดิตใหม่จำนวนมาก และยังมีประสบการณ์การเงินน้อย ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้รายได้ของกลุ่มนี้ลดลง จากข้อมูลจะพบว่า

เปิดไม่เกิน​ 2 ปี​ 36,000 ใบ

เป็น Gen Y​ 20,000 ใบ

เปิดมากกว่า​ 2 ปี แต่ไม่เกิน​ 4 ปี 39,000 ใบ

Gen Y​ 27,000 ใบ

Gen X​ 9,200 ใบ

เปิดมากกว่า​ 4 ปี แต่ไม่เกิน​ 6 ปี​ 45,000 ใบ

 Gen Y​ 30,000 ใบ

​ Gen X​ 1,2000 ใบ

 

หนี้กำลังจะเสียพุ่ง 32.4%

นอกจากยอดหนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังพบว่า ยอดหนี้กำลังจะเสีย (SML) ก็พุ่งสูงถึง 32.4% คิดเป็นยอดเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน3 เดือน เป็นสัญญาณที่ค่อนข้างอันตรายเลยครับถ้าหากกลายไปเป็นหนี้เสียแล้วจะขึ้นไปอยู่ที่เท่าไหร่กัน เพราะว่าเฉลี่ยแล้วคนเรามีบัตรเครดิตอยุ่ที่ 2-3 ใบประกับกับที่ค่าชำระเพิ่มมาอีกใบละ 3% ทำให้หลายๆคนขาดความสามารถในการชำระหนี้ได้ไหว

ถึงแม้ว่านโยบายการปรับขึ้นของการจ่ายเงินขั้นต่ำมีเป้าหมายในการช่วยให้เงินต้นลดลงมากขึ้นนั้นจะมีความหวังดีในการช่วยเหลือลูกหนี้ให้เงินต้นหมดไวขึ้นแต่ในยุคนี่ที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่ารายได้ของลูกหนี้จะมีเท่าเดิมนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องยากในการที่ลูกหนี้จะแบกรับเอาไว้ไหว

อย่างไรก็ตามหากต้องการที่จะช่วยเหลือลูกหนี้อาจจะมีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้อยู่อีกดีกว่าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปซึ่งจะเป็นการสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจไทยอีกด้วย

 

แนวทางจากเครดิตบูโร

เครดิตบูโร ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลเครดิต ได้ริเริ่มโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ดังนี้

  • โครงการแก้ไขหนี้เสีย: ให้คำปรึกษา และแนวทางการแก้ไขหนี้เสียแก่ลูกหนี้
  • บริการไกล่เกลี่ยหนี้สิน: ไกล่เกลี่ยระหว่างลูกหนี้ และเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน
  • ข้อมูลความรู้ทางการเงิน: ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครดิต การวางแผนการเงิน และการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
  • สื่อประชาสัมพันธ์: รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาหนี้เสีย และวิธีการป้องกัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊กส่วนตัว คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)

เนื้อหาที่น่าสนใจ หอการค้าไทยแห่งประเทศไทยยืนชัดไม่สนับสนุนนโยบาย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400

Categories
News & Activities

ธปท. จัด Media Briefing เรื่อง สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดย คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน

สรุปประเด็น สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธปท. ติดตามสถานการณ์ หนี้ ครัวเรือนใกล้ชิดและผลักดันการดําเนินการตามมาตรการแก้ หนี้ ระยะยาว กับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน

เพื่อให้เจ้าหนี้ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้กลับมาฟื้นตัวได้ โดยสัดส่วน หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ทยอยลดลงจากที่เร่งตัวสูงในช่วงโควิด โดย ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP (เพิ่มขึ้นจากการปรับข้อมูลให้ครอบคลุมผู้ให้กู้เพิ่มขึ้น ซึ่ง เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ที่เพิ่งเกิดใหม่ โดยจากข้อมูลชุดใหม่ หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2565 อยู่ที่ 91.4%) ขณะที่จํานวนบัญชีและยอดหนี้ของสินเชื่อที่ค้างชําระเกิน 90 วัน จากผลกระทบของโควิด (ลูกหนี้รหัส 21) ล่าสุดได้ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2565 แล้ว จากการเร่งปรับ โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ในระยะต่อไป NPL อาจทยอยปรับขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อย หรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว แต่จะไม่เห็น NPL cliff และเป็นระดับที่ สง. บริหารจัดการได้

สอดคล้องกับมุมมองของ Rating agencies ต่อภาคธนาคารไทยที่ยังมั่นคง อีกทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะทําให้ ความสามารถในการชําระหนี้ปรับดีขึ้น โดยหนี้กลุ่มเปราะบางที่อาจเสื่อมคุณภาพลง ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สูง และกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจํา ซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือแล้ว แต่ยังกลับมา ชําระหนี้ไม่ได้ สําหรับสินเชื่อรถยนต์ ที่จัดชั้น stage 2 (SM) ที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงโควิด ไม่จําเป็นว่าจะ กลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด ดูได้จากพฤติกรรมของลูกหนี้ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าอาจเว้นงวดผ่อนรถเพื่อ นําเงินไปหมุนจ่ายภาระอื่น ทําให้โดยทั่วไป SM ของสินเชื่อรถยนต์จะอยู่ในระดับสูงกว่าสินเชื่อรายย่อย ประเภทอื่น ซึ่ง ธปท. ได้กําชับ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ให้เร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว นอกจากนี้ ลูกหนี้บัตร เครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันและเป็นหนี้เสียค้างชําระเกินกว่า 120 วัน ก็สามารถเข้าร่วม คลินิกแก้หนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาระรายเดือนอยู่ในระดับที่สามารถชําระคืนได้

ธปท. จะเร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ซึ่งต้องทําอย่างครบวงจร ถูกหลักการ และร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยแนวทางดังกล่าวจะครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่การก่อหนี้ใหม่ที่มี คุณภาพ การดูแลหนี้เดิมโดยเฉพาะ NPL และหนี้เรื้อรัง รวมถึงช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบ โดยแนวทางที่ ธปท. จะดําเนินการ คือ (1) เกณฑ์ Responsible Lending (RL) ที่กําหนดให้เจ้าหนี้ ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ หนี้มีปัญหา จนถึงการขายหนี้ โดยลูกหนี้ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ทันเวลา มีคุณภาพ และเพียงพอมีแนวทางการดูแลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง ให้เห็นทางปิดจบหนี้ได้ (2) กลไก Risk-based pricing (RBP) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ และช่วยให้ลูกหนี้จ่ายอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงและได้รับการ ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยหลักการสําคัญคือลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงตํ่าควรได้รับดอกเบี้ยที่ตํ่าลง และเพิ่ม โอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสําหรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง และ (3) มาตรการ Macroprudential policy (MAPP) ให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่อสอดคล้องกับความสามารถในการชําระหนี้ และลูกหนี้มีเงินเหลือพอ ดํารงชีพ ไม่นําไปสูงการก่อหนี้สินเกินตัว เช่น การคุมหนี้ไม่ให้อยู่ในระดับสูงเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ใน แต่ละเดือน (DSR) ทั้งนี้ สําหรับแผนการนํามาใช้ในส่วนของ RL และการแก้หนี้เรื้อรังจะบังคับใช้ก่อน เป็นลําดับแรก ตามมาด้วยมาตรการ RBP สําหรับในเรื่อง MAPP การนํามาใช้จะต้องพิจารณาให้ เหมาะกับบริบทของเศรษฐกิจ โดย ธปท. จะชี้แจงรายละเอียดในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ต่อไป

 

การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น เพื่อขยายผลไปยังอีก 30% ของหนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกํากับของ ธปท. ด้วย

เช่น การปลูกฝังให้ลูกหนี้มีความรู้และวินัยทางการเงิน การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบของเจ้าหนี้ทั้งระบบ การพัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ประเมินและติดตามหนี้ และการแก้จน/ สร้างรายได้ เป็นต้น