Categories
News & Activities

ธปอ.ศึกษาเทคโนโลยี NFC กระตุ้นการชำระเงินดิจิทัล 2.5

ธปอ.ศึกษาเทคโนโลยี NFC หวังกระตุ้นการชำระเงินดิจิทัล 2.5 เท่าตามเป้า

แบงก์ชาติเผยอยู่ระหว่างศึกษาการนำเทคโนโลยี NFC มาใช้กับระบบพร้อมเพย์ หวังช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรม หนุนปริมาณการโอนชำระเงินของคนไทยผ่านระบบดิจิทัลโตเพิ่มเป็น 800 ครั้งต่อคนต่อปีตามเป้า

ปัจจุบันคนไทยเราชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลอยู่ที่ 500 ครั้งต่อคนต่อปี เติบโตขึ้นมาจาก 300 กว่าครั้งต่อคนต่อปีในช่วงเริ่มแผน การจะไปให้ถึงเป้าหมายที่ 800 ครั้งต่อคนต่อปี การชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลของคนไทยจะต้องเพิ่มขึ้นอีก 300 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก

การนำเทคโนโลยี NFC เข้ามาใช้กับระบบพร้อมเพย์นั้นเป็นแผนการพัฒนาระบบดิจิทัล ของ ธปอ. ที่มีเป้าหมายจะขยายการชำระเงินดิจิทัลให้เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า หรือคิดเป็น 800 ครั้งต่อคนต่อปี นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะขยายร้านค้าที่รับชำระเงินผ่านระบบQR Code ที่มีอยู่แล้วมากกว่า 8.7 ล้านจุด ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใช้งานระบบ QR Code มากขึ้น พร้อม เพิ่มประสิทธิภาพให้รวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกมากขึ้น

คุณ ดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในระบบราว 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นต้นทุนการผลิต การกระจาย และทำลาย รวมประมาณ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ดังนั้นหากคนไทยหันมาทำใช้ธุรกรรมการเงินแบบดิจิทัลกันมากขึ้น ต้นทุนส่วนนี้ก็จะลดลง

“เราอยากเห็นดิจิทัลเป็นทางเลือกหลักในการทำธุรกรรมของคนไทย ไม่เฉพาะประชาชน แต่รวมถึงภาคธุรกิจและภาครัฐด้วย ซึ่งในส่วนของภาคธุรกิจปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบพร้อมบิซขึ้นมารองรับแล้ว อย่างไรก็ดี แนวทางของเราไม่ใช่คำว่า Cashless แต่เป็น Less Cash ไปเรื่อยๆ เพราะแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น ในสแกนดิเนเวียก็พบว่าเงินสดยังมีความจำเป็นต้องมีอยู่เช่นกัน” ดารณีกล่าว ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

เทคโนโลยี NFC คืออะไร?

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ระบุว่า NFC เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะสั้น (Short-Range Wireless Technology) ใช้คลื่นความถี่ 13.56 เมกะเฮิรตซ์ บนพื้นฐานมาตรฐาน ISO 14443 (Philips MIFARE and Sony’s FeliCa) ใช้ส่งข้อมูลได้ระยะประมาณ 4-10 เซนติเมตร มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุด 424 กิโลบิตต่อวินาที และมีความเร็วในการติดต่อเริ่มต้นต่ำกว่า 0.1 วินาที ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้เทคโนโลยี NFC ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะใกล้ๆ ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างมากและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ

หนึ่งในรูปแบบการใช้งานของ NFC คือ Card Emulation Mode ซึ่งเป็นโหมดที่จะทำให้อุปกรณ์ที่รองรับ NFC อย่างสมาร์ทโฟน ทำงานเสมือนเป็นบัตรที่ผู้ใช้งานแค่แตะกับอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณ โดยไม่ต้องสัมผัสกับเครื่องโดยตรง (Contactless) ก็สามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้

ข้อควรระวังของ NFC

อย่างไรก็ดี การใช้งานเทคโนโลยี NFC ก็มีข้อควรระวัง เนื่องจากระบบการทำงานของ NFC ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่ได้มีการตรวจสอบหรือยืนยันตัวบุคคลที่ซับซ้อนมาก ผู้ใช้งานควรตระหนักอยู่เสมอว่าระบบที่ใช้งานอยู่อาจไม่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ดีพอ จึงควรใช้งานด้วยความระมัดระวัง ดังนี้

  1. ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณ NFC ว่ามีอุปกรณ์แปลกปลอมติดตั้งอยู่หรือไม่
  2. ไม่ควรนำสมาร์ทโฟนไปแตะเข้ากับอุปกรณ์อ่านข้อมูลหรือตัวรับสัญญาณที่น่าสงสัย
  3. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ควรปิดการเชื่อมต่อ NFC เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูล
  4. ระมัดระวังในการเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในสมาร์ทโฟน
  5. ควรกำหนดรหัสผ่านสำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีนำข้อมูลไปใช้ในกรณีที่ทำสมาร์ทโฟนสูญหาย

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NFC >>> ทำความรู้จักกับ NFC เทคโนโลยีด้านการเงิน ที่จะส่งผลกับการใช้ชีวิต – PINNACLE (pinnacle-amc.co.th)

Categories
News & Activities

พินนะเคิล ชนะประมูลหนี้ TOYOTA LEASING (THAILAND) กว่า 500 ลบ.

พินนะเคิล ชนะการประมูลหนี้ด้อยคุณภาพ บริษัทโตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่ากว่า 500 ลบ.  บริษัท พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด (PAM) ชนะการประมูลซื้อหนี้ด้อยคุณภาพประเภทบัญชีลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อ จาก บริษัทโตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 โดย พินนะเคิล (PAM) ได้เข้าพบคุณวุฒิพงศ์ ลัคนวณิช ผู้อำนวยการฝ่าย และลงนามในสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องลูกหนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 โดยคุณพงศธร หาญวรโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด (PAM) กล่าวถึงว่าปีนี้ทางบริษัทได้ลงนามซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหาร ทั้งหนี้ที่มีหลักประกันจากสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจลีสซิ่งและในครั้งนี้เป็นการชนะการประมูลซื้อหนี้ครั้งสำคัญของบริษัทเพื่อสนับสนุนพอร์ตบริหารหนี้ปัจจุบันที่มีอยู่กว่า  2,500  ล้านบาท ดังนั้นจึงมีความมั่นใจว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งในการซื้อหนี้เข้ามาบริหารของบริษัท สนับสนุนภาพรวมกำไรเติบโตเข้าเป้ามากกว่าปีก่อนได้อย่างแน่นอน

“ถ้าหากเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ PAM ลงทุนซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหาร ปีนี้ถือเป็นปีที่ดีที่สุดของบริษัทในการซื้อหนี้ ซึ่งเป็นโอกาสของ PAM ที่จะมีหนี้ด้อยคุณภาพเพื่อสร้างกระแสเงินสดที่ดีให้กับบริษัทต่อไปในอนาคต” นอกจากนี้ PAM อยู่ระหว่างการยื่นประมูลซื้อหนี้เพิ่มเติม โดยมุ่งเน้นหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินชั้นนำ ในประเทศไทยซึ่งเป็นกลุ่มประเภทหนี้ที่อยู่ในความเชี่ยวชาญของบริษัทเพื่อตอกย้ำผู้นำด้านการติดตามและบริหารหนี้ของประเทศไทยสอดรับภาพรวมหนี้ในระบบจากสถาบันการเงินที่ทยอยเปิดประมูลออกมาอย่างต่อเนื่อง

โดย PAM ตั้งเป้างบลงทุนซื้อหนี้ปีนี้อยู่ที่ประมาณ 500 ล้านบาท ทั้งหนี้ที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ในปี 2566นี้ ใช้งบลงทุนไปแล้ว 300 ล้านบาท สำหรับแนวโน้มไตรมาส 4/2566 เดินหน้าซื้อหนี้ตามแผนพร้อมด้วยการบริหารการจัดเก็บหนี้ให้อยู่ในระดับที่ดีต่อเนื่อง

ที่มาข่าว: พินนะเคิล ชนะประมูลหนี้ TOYOTA LEASING (THAILAND)  กว่า 500 ลบ. (prachachat.net)

 

Categories
News & Activities

พินนะเคิล จับมือ ไมด้าลิสซิ่ง เร่งขยายกลุ่มพันธมิตรทางการค้า

บริษัท พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท ไมด้าลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) เร่งขยายกลุ่มพันธมิตรการค้า จับมือบริษัทลิสซิ่งชั้นแนวหน้ารายใหญ่ระดับประเทศ

บริษัท พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด นำทีมโดย คุณ พงศธร หาญวรโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) พร้อมทั้ง  คุณ ธีรวัฒน์ เกียรติสมภพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมด้าลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และ คุณ กิตติวัชร์ ไตรเวทย์วรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสินเชื่อภูมิภาค บริษัท ไมด้าลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นการเติบโตทางด้านเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจด้านสินเชื่อ โดยธุรกิจที่ต้องการขยายฐานร่วมกันคือ การรีไฟแนนซ์ หรือการจัดสินเชื่อใหม่ให้กับลูกหนี้ของบริษัท พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด เพื่อมุ่งหวังแบ่งเบาภาระให้กับลูกหนี้ในการชำระหนี้ให้กับบริษัท  รวมไปถึงการขยายโอกาสทางธุรกิจในด้านให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อสำหรับซื้อรถยนต์มือสองและรถยนต์เพื่อธุรกิจ(SME) ทั้งที่เป็นรถส่วนบุคคลและรถยนต์ที่ใช้เพื่อการค้า อาทิ รถกระบะ รถแท็กซี่ และรถบรรทุก เป็นต้น เพื่อมุ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ครบวงจร และขยายพื้นที่ให้บริการด้านการรับประมูลรถยนต์โดยบริษัทไมด้าลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีความแข็งแกร่งทางด้านการให้บริการสินเชื่อสำหรับรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นยี่ห้อ โตโยต้า อีซูซุ นิสสัน มิตซูบิชิ ฮอนด้า และยี่ห้ออื่น ๆ อีกทั้งยังมีบริการสินเชื่อเพื่อการซื้อรถแบบฟลอร์แพลน (Floor Plan Financing) สำหรับตัวแทนจำหน่ายรถ, บริการรีไฟแนนซ์รถ ธุรกิจการรับประมูลรถ และบริการอื่น ๆ อาทิ บริการต่อทะเบียนรถ, ต่อประกันรถ และเป็นตัวแทนทำประกันภัยรถ บริษัทประกอบการสาขาถึง 18แห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย

ทั้งนี้เพื่อรองรับ การขายทอดตลาดทรัพย์สินของบริษัทที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นตามผลประกอบการและรายได้รวมของบริษัท พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยวิธีประมูลขายทอดตลาด ตามมาตรฐานสากล บริษัทพินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด จึงเร่งขยายฐานธุรกิจ และพันธมิตรทางการค้า เพื่อตอบโจทย์ความรวดเร็ว และการให้บริการลูกค้า  ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อมุ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ครบวงจร และเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดำเนินการตามโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในหลักธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งเน้นให้ด้านช่วยเหลือลูกหนี้ให้กลับมามีโอกาส และสภาพคล่องทางการเงินอีกครั้งหนึ่ง

Website ช่องทางขายทรัพย์: Thai Asset Hub

ที่มาข่าว Website:  พินนะเคิล จับมือ ไมด้าลิสซิ่ง เร่งขยายกลุ่มพันธมิตรทางการค้า (matichon.co.th)

Categories
News & Activities

ทำความรู้จักกับ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นคำที่ไม่ค่อยได้ยินกันบ่อยนักใช่มั้ยครับ? วันนี้ผมจะมาอธิบายเรื่องภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้ทุกคนได้เข้าใจกันครับ

สำหรับบุคคลใดก็ตามที่มีที่ดินเป็นของตัวเองจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างโดยไม่แบ่งแยกระหว่างคนที่ทำธุรกิจกับบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นที่รกร้าง หรือมีการใช้งานอยู่ก็ตามครับ

 

สิ่งที่ควรจะต้องรู้เกี่ยวกับ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บรายปีซึ่งจะถูกคำนวนจากมูลค่าของที่ดินที่ผืนนั้นๆที่เราครอบครองอยู่ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น มีเงื่อนไขดังนี้

  1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)
  2. ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

สำหรับเจ้าของที่ดินทุกคนที่เข้าเงื่อนไขนั้นมีหน้าที่เสียภาษีกันทุคนนะครับ

 

แล้วเราต้องชำระที่ไหนและเมื่อไหร่หล่ะ?

เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ ซึ่งสถานที่ชำระก็จะจะแตกต่างกันไปตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

  • เทศบาล ให้เสียภาษีที่ สำนักงานเทศบาล
  • อบต.ให้เสียภาษีที่ องค์กรบริหารส่วนตำบล
  • กรุงเทพ ให้เสียภาษีที่ สำนักงานเขตกรุงเทพ
  • พัทยา ให้เสียภาษีที่ สำนักงานเมืองพัทยา

สำหรับภาษีที่ถูกประเมินโดยองค์กรณ์ปกครองท้องถิ่นจะถูกส่งมาให้เราในทุกๆปีก่อนเดือนกุมภาพันธ์ครับ โดยเรามีหน้าที่ต้องไปจ่ายภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีนั้นๆที่ถูกแจ้งภาษีนั่นเองครับ

 

ภาษีที่ดินคำนวณอย่างไร อัตตราเท่าไหร่?

การคำนวณ ภาษีที่ดิน
การคำนวณ ภาษีที่ดิน

 

โดยปกติแล้ว ราคาประเมิน จะเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างหรือคอนโดมิเนียม ที่เป็นอัตราเดียวกับกรมที่ดิน

มูลค่ายกเว้น จะเป็นมูลค่าที่กฎหมายยกเว้นให้ตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีการยกเว้นสำหรับที่ดินเพื่อการเกษตร และที่อยู่อาศัย

 

ส่วนอัตราภาษีจะแตกต่างไปตามประเภทของที่ดิน ดังนี้

ประเภท ภาษีที่ดิน
ประเภท ภาษีที่ดิน

และนี่เป็นเรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับเจ้าของที่ดิน อย่าลืมตรวจสอบด้วยนะครับว่าที่ดินของคุณเป็นที่ดินประเภทไหน อัตราภาษีเท่าใด หรือว่าได้รับยกเว้นหรือเปล่า เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการเงินและจัดการภาษีในอนาคตนะครับ และเรายังมีความรู้ด้านการคำนวณค่าโอนที่ดินมาฝากให้เพื่อนๆได้อ่านอีกด้วยนะครับ  เข้าไปอ่านได้ที่นี่เลยครับ คำนวณค่าโอนที่ดิน ค่าจดจำนอง

 

Categories
News & Activities

พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ ร่วมกับ AWS Thailand เพื่อยกระดับและเตรียมตัวก้าวสู่บริษัทที่บริหารงานทางด้านธุรกิจการเงินครบวงจร

บริษัท พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ร่วมกับ CIO, CTO, CDO, IT Manager, Software Developer, Cloud Engineer, Data Engineer, Data Scientist จากบริษัทชั้นนำต่างๆทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรม AWS Cloud Day Thailand 2023 ที่จัดขึ้นโดย Amazon Web Services  ในวันที่ 8 สิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

โดยภายในงานมีกิจกรรมอัปเดตความรู้และแนวโน้มใหม่ด้าน Cloud จากผู้เชี่ยวชาญของ AWS เพื่อเรียนรู้ถึงวิธีการใช้ Cloud ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น รวมถึงสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้วยการประยุกต์ใช้งาน AI/ML, Data Analytics, Modern Application ไปจนถึงแนวทางใหม่ๆ ที่ AWS ช่วยผลักดันให้เหล่านักพัฒนา Software จะได้เสริมสร้างทักษะใหม่ด้าน Cloud ในประเทศไทย เพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานเห็นภาพรวมและแนวโน้มในอนาคตของ Cloud

รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าจับตามองเพื่อเตรียมก้าวสู่ปี 2024 ด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ “The Future is Now for Thai Financial Services” รวมประเด็นน่าสนใจของการใช้ Cloud สำหรับสถาบันการเงินและธนาคาร เช่น ระบบ Core Banking แบบ Cloud Native, การสร้างประสบการณ์แบบ Hyper-Personalized Customer Engagement, การปกป้อง Customer Trust, แนวทางสำหรับ Eco-System Platform และแนวทางการก้าวสู่การพัฒนา Cloud Native Application

เพื่อเตรียมตัวก้าวสู่บริษัทที่บริหารงานทางด้านธุรกิจการเงิน โดยใช้เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการ บริหาร จัดการระบบต่างๆในองค์กร

website: พินนะเคิล แอสเซท แมเนจเม้นท์ ร่วมกับ AWS Thailand (prachachat.net)

 

Categories
News & Activities

ทำความรู้จักกับ MRR หรือ Minimum Retail Rate

สำหรับหลายๆคนที่กำลังจะซื้อบ้านหรือมีการเตรียมที่จะกู้เงินระยะยาว ผมเชื่อว่าคุณจะต้องได้ยินหรืออ่านเจอกับคำว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR กันอย่างแน่นอนใช่มั้ยหล่ะครับ แล้วไหนจะ MMR กับ MLR อีก ซึ่งตัวอักษรเหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรจะต้องศึกษาเพื่อเป็นผลประโยชน์กับตัวคุณเอง เพราะความรู้เหล่านี้มันจะช่วยให้คุณประหยัดมากขึ้นนั่นเองครับ

MRR

เอาหละเรามาเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับ MRR หรือ Minimum Retail Rate กันดีกว่าครับ

MRR หรือ Minimum Retail Rate  มันเป็นชื่อเรียกของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยนั่นเองครับ ซึ่งMRRจะถูกนำมาใช้กับเงินกู้ประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนยกตัวอย่างนะครับ สินเชื่อส่วนบุคคล,สินเชื่อบ้าน,สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้นครับ แล้วนอกจากอัตราดอกเบี้ย MRR แล้วยังมีอัตราดอกเบี้ย MLR และอัตราดอกเบี้ย MOR อีกด้วยครับ โดยสินเชื่อที่ทำนั้นเองจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปตามที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนด แต่ต้องสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นครับ

MRR MLR MOR แตกต่างกันตรงไหน

อัตราดอกเบี้ย MRR

เป็นดอกเบี้ยที่จะถูกนำมาใช้กับบุคคลทั่วไปที่เป็นรายย่อยครับ มักใช้กับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบ้านครับ ดอกเบี้ยประเภทนี้จะมีอัตราการอนุมัติง่ายกว่าอัตราดอกเบี้ยอื่นๆ บวกกับมีความไม่แน่นอนสูง จึงทำให้ดอกเบี้ยสูงกว่า MLR อีกทั้งยังมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายกว่าอีกด้วย

อัตราดอกเบี้ย MLR

เป็นดอกเบี้ยที่จะถูกนำมาใช้กับลูกค้ารายใหญ่ที่เข้ามากู้แล้วมีประวัติการชำระเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันมักใช้กับการกู้ที่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนครับ แต่มีกรณีที่ธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ย MLR กับลูกค้าทั่วไปด้วยนะครับ ซึ่งทางธนาคารจะเสนอให้ก็ต่อเมื่อเป็นการกู้สินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน

อัตราดอกเบี้ย MOR

ธนาคารส่วนใหญ่มักจะใช้กับกรณีสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งก็คือวงเงินเบิกเกินบัญชี ที่ทำผ่านบัญชีกระแสรายวัน และส่วนใหญ่ใช้เช็คในการเบิกถอน

การคำนวน MRR

จากการคำนวณด้านบนจะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่า ความแตกต่างของการคิดดอกเบี้ยจากปีแรกที่กู้และปีที่สองนั้นมีความแตกต่างของดอกเบี้ยมากถึงหลักหมื่นบาทเลยทีเดียว และยิ่งเวลาผ่านไปนานก็มีโอกาสที่ดอกเบี้ยบ้านจะเพิ่มขึ้นตามกลไกทางเศรษฐกิจอีกด้วยครับ

คำแนะนำเกี่ยวกับ MRR

แนะนำเพิ่มเติม

สำหรับใครที่ต้องการซื้อบ้าน หรือกำลังผ่อนบ้านในยุคนี้ควรติดตามสถานการณ์และคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นระยะๆ รวมถึงพิจารณาเรื่องของการรีไฟแนนซ์เพื่อให้ได้อัตราเงินกู้ใหม่ที่ดีกว่าเดิม จะช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาวได้อย่างมากมายเลยครับ ทางเราเองก็มีเรื่องของการรีไฟแนนซ์บ้านให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจอีกด้วยครับ เข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้เลยครับ

ข้อดี/ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์ท… – Pinnacle Asset Management Co., Ltd. | Facebook

 

ข้อควรรู้ของอัตราดอกเบี้ย
1. ตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์จะต้องติดประกาศอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสาขาย่อยและสาขาสำนักงานใหญ่ของแต่ละธนาคาร รวมไปถึงเว็บไซต์ของธนาคารนั้น ๆ และควรเขียนหมายเหตุด้วยว่ากฎของธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้บังคับใช้กับธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน เพราะธนาคารรัฐมีกฎหมายจัดตั้งเป็นพิเศษ เรื่องดอกเบี้ยจึงไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
2. อัตราดอกเบี้ย MRR, MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เนื่องจากต้นทุนของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน โดยต้นทุนที่เกี่ยวข้องของแต่ละธนาคารอาจจะขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสำรอง จำนวนหนี้เสีย และสภาพคล่องของธนาคาร
3. ถือเป็นเรื่องปกติหากมีลูกค้าสองคนเดินเข้าไปที่ธนาคารเดียวกันเพื่อขอกู้สินเชื่อเช่นเดียวกัน แต่ได้อัตราดอกเบี้ยต่างกัน

Categories
News & Activities

ทำความรู้จักกับ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)”

ตอนนี้การไปตรวจเครดิตบูโร ไม่ได้มีแค่การเช็กประวัติการชำระหนี้รายบัญชีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตรวจ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)” ด้วย เป็นบริการสำหรับลูกหนี้ที่ต้องการเข้าใจสถานการณ์เครดิตของตัวเองให้ลึกที่สุด ด้วยมุมมองเดียวกับที่สถาบันการเงินใช้ประเมินผู้ขอสินเชื่อ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “เครดิตสกอริ่ง (Credit Score)”

เครดิตสกอริ่ง (Credit Score) คืออะไร?

“Credit Score” (บ้างเรียกว่า “คะแนนเครดิต” หรือ “เครดิตสกอริ่ง”) คือเครื่องหมายหรือตัวเลข ที่เป็นผลรวมจากการประเมินข้อมูลทางสถิติของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ว่ามีโอกาสที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ที่ก่อไว้ โดยคำนวณจากประวัติการก่อหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ในอดีตของคน ๆ นั้น ซึ่งถูกประเมินด้วยกระบวนการทางสถิติ โดยสถาบันการเงินจะ Credit Scoring เพื่อประกอบการอนุมัติสินเชื่อ

Credit Scoring แบ่งเป็น 8 ระดับ เรียงจากมีโอกาสผิดชำระหนี้มากที่สุดระดับ HH ไปสู่โอกาสผิดชำระหนี้น้อยที่สุดระดับ AA ตั้งแต่คะแนน 300-900

Credit Score ของเรา ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง

  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เทียบกับวงเงินสินเชื่อ
  • ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีสินเชื่อที่เพิ่งเปิด
  • จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
  • ความยาวของประวัติสินเชื่อ
  • จำนวนบัญชีที่มีประวัติชำระหนี้ที่ดี
  • ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
  • ความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่

ตัวอย่างและการอธิบายส่วนต่างๆของ รายงาน

  1. ประเภทคะแนนเครดิต

แสดงเป็นค่า Version Score ของคะแนนเครดิต ใช้สำหรับภายในบริษัทเป็นค่าคงที่

  1. คะแนนเครดิต

แสดงคะแนนแครดิตที่ผ่านการประเมินแล้วของผู้ถูกประเมิน

  1. ระดับคะแนนเครดิต

แสดงระดับคะแนนตั้งแต่ AA ที่ระดับสูงสุด ไปจนถึง HH ที่ระดับต่ำสุด ที่ได้จากการคำนวณทางสถิติ โดยใช้ข้อมูลการก่อหนี้และประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละราย

  1. ความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน

แสดงความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืนเป็นเปอร์เซนต์

  1. ตารางแสดงคะแนนเครดิต

แสดงช่วงคะแนนและระดับคะแนน

  1. คำอธิบายการให้คะแนนเครดิต

แสดงเหตุผลประกอบการให้คะแนนว่าให้คะแนนเครดิตจากส่วนไหนบ้าง โดยจะแสดงไม่เกิน 5 รายการ

  1. คำอธิบายความน่าจะเป็นในการชำระหนี้คืน

บอกข้อมูลเชิงสถิติและความน่าจะเป็น

มาตรวจ Credit Score กับเครดิตบูโร สามารถขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ในขอบเขตดังนี้

  • ขอตรวจสอบแก้ไขข้อมูลเครดิต และเครดิตสกอริ่ง หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง
  • ให้คำปรึกษาในกรณีถูกปฏิเสธสินเชื่อ โดยมีหนังสือยืนยันจากสถาบันการเงินว่าเป็นเหตุมาจากข้อมูลเครดิตหรือเครดิตสกอริ่ง
  • ให้คำปรึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้คำแนะนำให้การอ่านรายงานเครดิตบูโรและเครดิตสกอริ่ง
  • รับคำขอใช้สิทธิบันทึกข้อโต้แย้งตามที่กฎหมายรองรับสิทธิเจ้าของข้อมูล
  • ให้คำแนะนำกับทางเครดิตบูโร เพื่อนำไปพัฒนาการให้บริการ

การที่เรามีคะแนนที่ดีช่วยอะไรเราได้?

  1. เพิ่มโอกาสให้กับลูกค้า (เจ้าของข้อมูล)

ได้รับบริการสินเชื่อ ที่สอดคล้องกับข้อมูลความสามารถในการชำระหนี้ และพฤติกรรมการชำระหนี้ของตนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

  1. มีความรูที่จะไม่สร้างความเสี่ยงทางการเงิน

เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางด้านการเงินที่เกินสมควร และช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเงินที่มีดิอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน

ความมมั่นคงของสถาบันการเงินของประเทศนั้นเริ่มต้นจากการที่เราสร้างมาตรฐานที่ดีในการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการชำระหนี้หรือการใช้เงินทุกรูปแบบ

Categories
News & Activities

แนะนำ 7 แอป ตรวจเครดิตบูโร ด้วยตนเอง พร้อมขั้นตอนใช้งาน

จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถตรวจเครดิตบูโรได้เองด้วยวิธีที่ง่ายดายและราคาสบายกระเป๋า ไม่ต้องไปเสียเงินหลายต่อและรอเวลานาน โดยค่าใช้จ่ายขึ้นกับว่าต้องการรายงานข้อมูลเครดิตรูปแบบไหน ถ้ารายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท ส่วนรายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) ค่าธรรมเนียม 200 บาท ที่สำคัญรู้ผลทันที (Realtime)

1.ตรวจเครดิตบูโร ผ่านแอป “ธนาคารกรุงเทพ” รู้ผลทันที

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงเทพรู้ผลทันที

  1. เลือกเมนู “ธุรกรรม” และเลือก “ขอตรวจเครดิตบูโร”
  2. เลือกประเภทรายงานได้ 2 แบบ
    – รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง)
    – รายงานข้อมูลเครดิต
  3. อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข และกดยอมรับ
  4. ตรวจสอบข้อมูล/แก้ไขที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารทั้งอีเมลและที่อยู่กรณีส่งอีเมลไม่สำเร็จ
    (หมายเหตุ: หากจัดส่งไปที่อีเมลไม่สำเร็จภายใน 3 วัน นับจากวันทีส่งคำขอ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะจัดส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์)
  5. ตรวจสอบคำขอรายงานข้อมูลเครดิตพร้อมค่าใช้จ่าย
    – รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) ค่าธรรมเนียม 200 บาท
    – รายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท
  6. ขอยืนยันตัวตนการทำรายการผ่านระบบ NDID
  7. ระบบแสดงรายการคำขอยืนยันตัวตน เลือก “ต่อไป”
  8. ชำระค่าธรรมเนียมการขอตรวจเครดิตบูโร
  9. เมื่อทำรายการสำเร็จ เราจะได้รับสลิปเป็นหลักฐาน (สามารถเรียกดูรายการขอข้อมูลรายงานเครดิตได้โดยเลือกแถบ “ประวัติการขอ” จากหน้าขอตรวจเครดิตบูโร)

วิธีรับผลรายงานได้

ทางธนาคารกรุงเทพจะส่งผลให้ทางอีเมลทันที แต่หากหากจัดส่งไปที่อีเมลไม่สำเร็จภายใน 3 วัน นับจากวันทีส่งคำขอ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะจัดส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์

รายละเอียดเพิ่มเติม wwww.bangkokbank.com/mobilebanking หรือโทร. 1333

2 .ตรวจเครดิตบูโร ผ่านแอป “MyMo” ของธนาคารออมสิน

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารออมสิน รู้ผลใน 24 ชั่วโมง

  1. เลือกเมนู “ขอตรวจเครดิตบูโร”
  2. เลือกประเภทรายงาน “รายงานข้อมูลเครดิต” หรือ “รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอร์ริ่ง”
  3. เลือกรูปแบบการรับข้อมูลที่ต้องการระหว่าง “อีเมล (PDF)” หรือ “ส่งทางไปรษณีย์” จากนั้นกด “ถัดไป”
  4. อ่านรายละเอียดการยืนยันการขอข้อมูลเครดิต และกด “ยืนยัน” หากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว ติดต่อสาขา
  5. อ่านข้อกำหนด และเงื่อนไข เลื่อนจนสุดหน้า และกดเครื่องหมายถูก “ข้าพเจ้าอ่าน และยอมรับในข้อกำหนด และเงื่อนไขฯ” และกด “ยอมรับ”
  6. ทำการตรวจสอบจำนวนเงิน และ “เลื่อนเพื่อส่ง” เพื่อทำการชำระเงิน
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิต” 150 บาท
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอร์ริ่ง” 200 บาท
  7. ตรวจสอบรายละเอียดในการชำระเงิน และการขอข้อมูลเครดิตอีกครั้ง จากนั้น กด “ยืนยัน”
  8. กรอกรหัสผ่าน MyMo และกด “ถัดไป” เพื่อทำการยืนยันการขอข้อมูลเครดิต
  9. หน้าจอแสดง e-Slip ที่ ได้ทำการชำระเงินและเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอรายงาน กดเพื่อบันทึกเก็บไว้ในคลังภาพ

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 24 ชั่วโมง*
    (*ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 1143 MyMo Call Center

3. ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอป “Krungthai NEXT” ของธนาคารกรุงไทย

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารกรุงไทย รู้ผลใน 24 ชั่วโมง

  1. เลือกเมนูบริการ
  2. เลือกเมนูตรวจเครดิตบูโร
  3. เลือกรูปแบบการรับข้อมูลระหว่าง 1) อีเมล หรือ 2) ไปรษณีย์ กรอกรายละเอียดและกดปุ่ม “ถัดไป”
  4. กดยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข
  5. ตรวจสอบข้อมูลแล้วกดยืนยัน
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิต” 150 บาท
    – ค่าธรรมเนียม “รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอร์ริ่ง” 200 บาท
  6. ใส่รหัส PIN
  7. หน้าจอแสดงผลการทำธุรกรรม (e-Slip) กดปุ่มเสร็จสิ้นและรอรายงานตามช่องทางที่เลือกรับข้อมูล

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 24 ชั่วโมง*
    (*ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่เครดิตบูโรกำหนด)
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  02-111-1111 หรือ call.callcenter@ktb.co.th

4.ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอป “ttb touch” ของธนาคารทหารไทยธนชาต

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิต

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่านธนาคารทีเอ็มบีธนชาต รู้ผลใน 3 วัน

  1. Login แอป เลือกเมนู อื่น ๆ
  2. เลือก “ขอข้อมูลเครดิตบูโร”
  3. เลือกรูปแบบการรับข้อมูล
  4. ตรวจสอบข้อมูล (ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์) ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน หากไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนดก่อนใช้บริการ
  5. อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข เลือก “ข้าพเจ้าได้อ่านและยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข” และ กด “ถัดไป”
    – กดชำระค่าธรรมเนียม 150 บาท
    – ตรวจสอบข้อมูลการจัดส่ง หากถูกต้อง กด “ยืนยัน”
  6. รอรับรายงานทางอีเมลหรือไปรษณีย์

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 3 วันทำการ
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

5. แอปตรวจเครดิตบูโร “KKP Mobile” ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร รู้ผลทันที

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่าน KKP รู้ผลทันที

  1. เข้าเมนู “ตรวจสอบข้อมูลเครดิต”
  2. เลือกรายการ “เพิ่มคำขอ”
  3. เลือกรูปแบบข้อมูลเครดิตได้ 2 รูปแบบ 1) รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต 2) รายงานข้อมูลเครดิต
  4. เลือกบัญชีเงินฝากที่ต้องการหักบัญชี ค่าธรรมเนียม 200 บาท
  5. กดตอบรับข้อความต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการขอข้อมูลเครดิต
  6. กดยืนยันด้วย Pin Code ในการทำรานการขอข้อมูล รับรายงาน 2 รูปแบบ 1) แสดงผลผ่านแอป 2) อีเมล
  7. รับรหัส 6 หลักทางมือถือ (Realtime) สำหรับเปิดดูรายงานข้อมูลเครดิต

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. แสดงผลผ่านหน้าจอแอป KKP ทันที (Realtime) เฉพาะรายงานเครดิตสกอริ่ง และรายงานข้อมูลเครดิตแบบสรุปเท่านั้น
  2. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลได้ทันที (Realtime)

6.ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอป “Flash Express”

ให้บริการตรวจรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง

ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโรผ่าน Flash Express รู้ผลใน 24 ชั่วโมง

  1. ขั้นตอนการเข้าโมบายแอป Flash Express
  • Download แอป Flash Express และทำการลงทะเบียน
  • เข้าสู่ระบบโดยหมายเลขโทรศัพท์มือถือและรหัสยืนยัน
  • ไปที่ หน้า “โปรไฟล์”
  1. ขั้นตอนการเข้าสู่หน้าหลักบริการ แฟลช มันนี่ และการยืนยันตัวตน
  • เลือกเมนู แฟลช มันนี่
  • ก่อนใช้บริการขอตรวจเครดิตบูโร ต้องผ่านการยืนยันตัวตนจนเสร็จสิ้นกระบวนการ Dip Chip
  • กระบวนการ Dip Chip ทำตามใน APP แจ้งรายละเอียดสอบถาม customer service
  1. การขอรายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เข้าสู่หน้าหลัก แฟลช มันนี่ และเลือกเมนู ขอตรวจเครดิตบูโร
  • เลือกประเภทรายงาน
    1. รายงานข้อมูลเครดิต
    2. รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง
  • เลือกช่องทางการรับข้อมูล “จัดส่งทางอีเมล ” หรือ “จัดส่งทางไปรษณีย์”
  • อ่านข้อกำหนด และเงื่อนไข เลื่อนจนสุดหน้า และกด “ฉันได้อ่านทั้งหมด และยินยอม”
  • อ่านรายละเอียดการยืนยันการขอ ข้อมูลเครดิต และกด “ยืนยัน”
  • ทำการตรวจสอบจำนวนเงิน และเลือก “QR Payment” เพื่อทำการชำระเงิน
    1. รายงานข้อมูลเครดิต ค่าธรรมเนียม 150 บาท
    2. รายงานข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ค่าธรรมเนียม 200 บาท
  • ใส่ PIN ยืนยันการทำรายการ
  • ชำระเงินโดย QR Code
  • ระบบทำการ Save Image ลูกค้าสามารถเช็กได้ใน App ทุกเวลาและสามารถทำการลงอัลบั้มรูปของเครื่องมือถือ

เงื่อนไขในการให้บริการ

ผู้ใช้บริการจะต้องดำเนินการลงทะเบียนสมัครใช้บริการตามเงื่อนไขของ Flash Money และยืนยันตัวตนก่อนการใช้บริการด้วยวิธีการ DIP CHIP จนเสร็จสิ้นกระบวนการ

ทั้งนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ Flash Money เป็นผู้กำหนดแต่เพียงผู้เดียว

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

  1. รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมล ภายใน 3 วันทำการ
  2. รับรายงานรูปแบบเอกสาร ผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ

7. ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอปผ่านแอป “เป๋าตัง”

ขั้นตอน ตรวจเครดิตบูโร ด้วยเป๋าตังเปย์ ผ่านแอปเป๋าตัง

1. เข้าแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”

2. คลิกที่ “เป๋าตังเปย์”

3. เลือกที่บริการ “ตรวจเครดิตบูโร”

4. เลือกประเภทรายงานมีให้เลือก 2 ประเภท

  • รายงานข้อมูลเครดิต
  • รายงานข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง)

5. เลือกช่องทางการรับรายงาน

  • รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลภายใน 24 ชม.
  • รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ภายใน 7 วันทำการ)

6. อ่านทำความเข้าใจ ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข

7. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

8. ชำระค่าธรรมเนียมการข้อเอกสาร

วิธีรับผลรายงานได้ 2 รูปแบบ

ผู้ขอเอกสารเครดิตบูโรผ่านเป๋าตังเปย์ในแอปเป๋าตังสามารถเลือกได้ว่าจะรับข้อมูลผ่านทางอีเมลหรือทางไปรษณีย์ซึ่งระยะเวลาแตกต่างกัน ดังนี้

  • รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลภายใน 24 ชม.
  • รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ภายใน 7 วันทำการ)

โดยทั้ง 2 ช่องทางค่าใช้จ่ายเท่ากัน

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ncb.co.th หากพบปัญหาในการรับข้อมูลเครดิต ติดต่อ consumer@ncb.co.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111

Categories
News & Activities

ธปท. จัด Media Briefing เรื่อง สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดย คุณสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน

สรุปประเด็น สถานการณ์ “หนี้” ครัวเรือนและความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธปท. ติดตามสถานการณ์ หนี้ ครัวเรือนใกล้ชิดและผลักดันการดําเนินการตามมาตรการแก้ หนี้ ระยะยาว กับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน

เพื่อให้เจ้าหนี้ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้กลับมาฟื้นตัวได้ โดยสัดส่วน หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ทยอยลดลงจากที่เร่งตัวสูงในช่วงโควิด โดย ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP (เพิ่มขึ้นจากการปรับข้อมูลให้ครอบคลุมผู้ให้กู้เพิ่มขึ้น ซึ่ง เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ที่เพิ่งเกิดใหม่ โดยจากข้อมูลชุดใหม่ หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2565 อยู่ที่ 91.4%) ขณะที่จํานวนบัญชีและยอดหนี้ของสินเชื่อที่ค้างชําระเกิน 90 วัน จากผลกระทบของโควิด (ลูกหนี้รหัส 21) ล่าสุดได้ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2565 แล้ว จากการเร่งปรับ โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ในระยะต่อไป NPL อาจทยอยปรับขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อย หรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว แต่จะไม่เห็น NPL cliff และเป็นระดับที่ สง. บริหารจัดการได้

สอดคล้องกับมุมมองของ Rating agencies ต่อภาคธนาคารไทยที่ยังมั่นคง อีกทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะทําให้ ความสามารถในการชําระหนี้ปรับดีขึ้น โดยหนี้กลุ่มเปราะบางที่อาจเสื่อมคุณภาพลง ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สูง และกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจํา ซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือแล้ว แต่ยังกลับมา ชําระหนี้ไม่ได้ สําหรับสินเชื่อรถยนต์ ที่จัดชั้น stage 2 (SM) ที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงโควิด ไม่จําเป็นว่าจะ กลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด ดูได้จากพฤติกรรมของลูกหนี้ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าอาจเว้นงวดผ่อนรถเพื่อ นําเงินไปหมุนจ่ายภาระอื่น ทําให้โดยทั่วไป SM ของสินเชื่อรถยนต์จะอยู่ในระดับสูงกว่าสินเชื่อรายย่อย ประเภทอื่น ซึ่ง ธปท. ได้กําชับ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ให้เร่งเจรจาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว นอกจากนี้ ลูกหนี้บัตร เครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันและเป็นหนี้เสียค้างชําระเกินกว่า 120 วัน ก็สามารถเข้าร่วม คลินิกแก้หนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาระรายเดือนอยู่ในระดับที่สามารถชําระคืนได้

ธปท. จะเร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ซึ่งต้องทําอย่างครบวงจร ถูกหลักการ และร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยแนวทางดังกล่าวจะครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่การก่อหนี้ใหม่ที่มี คุณภาพ การดูแลหนี้เดิมโดยเฉพาะ NPL และหนี้เรื้อรัง รวมถึงช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบ โดยแนวทางที่ ธปท. จะดําเนินการ คือ (1) เกณฑ์ Responsible Lending (RL) ที่กําหนดให้เจ้าหนี้ ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ หนี้มีปัญหา จนถึงการขายหนี้ โดยลูกหนี้ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ทันเวลา มีคุณภาพ และเพียงพอมีแนวทางการดูแลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง ให้เห็นทางปิดจบหนี้ได้ (2) กลไก Risk-based pricing (RBP) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ และช่วยให้ลูกหนี้จ่ายอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงและได้รับการ ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยหลักการสําคัญคือลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงตํ่าควรได้รับดอกเบี้ยที่ตํ่าลง และเพิ่ม โอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสําหรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง และ (3) มาตรการ Macroprudential policy (MAPP) ให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่อสอดคล้องกับความสามารถในการชําระหนี้ และลูกหนี้มีเงินเหลือพอ ดํารงชีพ ไม่นําไปสูงการก่อหนี้สินเกินตัว เช่น การคุมหนี้ไม่ให้อยู่ในระดับสูงเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ใน แต่ละเดือน (DSR) ทั้งนี้ สําหรับแผนการนํามาใช้ในส่วนของ RL และการแก้หนี้เรื้อรังจะบังคับใช้ก่อน เป็นลําดับแรก ตามมาด้วยมาตรการ RBP สําหรับในเรื่อง MAPP การนํามาใช้จะต้องพิจารณาให้ เหมาะกับบริบทของเศรษฐกิจ โดย ธปท. จะชี้แจงรายละเอียดในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ต่อไป

 

การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น เพื่อขยายผลไปยังอีก 30% ของหนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกํากับของ ธปท. ด้วย

เช่น การปลูกฝังให้ลูกหนี้มีความรู้และวินัยทางการเงิน การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบของเจ้าหนี้ทั้งระบบ การพัฒนาฐานข้อมูลที่ใช้ประเมินและติดตามหนี้ และการแก้จน/ สร้างรายได้ เป็นต้น

Categories
News & Activities

Hylife Group’s First Half-Year Journey Towards Success

องค์กรไฮไลฟ์ กรุ๊ป ของเรา ก้าวผ่านความท้าทายในครึ่งปีแรก มุ่งเน้นการลงทุนพัฒนา และต่อยอดธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมอย่างมั่นคง เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ และการก้าวขึ้นเป็นองค์กรชั้นนำของเชียงใหม่